วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดินถล่ม

ดินถล่ม (ภัยพิบัติ)




              ดินถล่ม (ภัยพิบัติ)
                  ดินถล่ม (Landslide)
คือปรากฏการณ์ที่ส่วนของพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน หรือเศษดิน เศษต้นไม้ไหล เลื่อน เคลื่อน ถล่ม พังทลาย หรือหล่น ลงมาตามที่ลาดเอียง อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ในขณะที่สภาพส่วนประกอบของชั้นดิน ความชื้นและความชุ่มน้ำในดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุล
                   ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่สร้างโลก อาจเป็นเพียงเล็กน้อยเพียงก้อนหินก้อนเดียวที่ตกหรือหล่นลงมา หรือเศษของดินจำนวนไม่มากที่ไหลลงมา หรืออาจเกิดรุนแรงใหญ่โต เช่น ภูเขาหรือหน้าผา หรือลากเขาพังทลายลงมาก็ได้ และอาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือค่อยๆ เป็นไปช้าๆ ก็ได้ จนกว่าจะเกิดความสมดุลใหม่จึงหยุด
                   เนื่องจากในระยะหลังๆ นี้ ดินถล่มปรากฏเป็นข่าวบ่อยมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะ เกิดขึ้น
                   สาเหตุของดินถล่ม (Causes of Landslides) เกิดจากกรที่พื้นดินหรือส่วนของพื้นดินเคลื่อน เลื่อน ตกหล่น หรือไหล ลงมาจากที่ลาดชัน หรือลาดเอียงต่างระดับ ตามแรงดึงดูดของโลกในภาวะที่เกิดการเสียสมดุลด้วยเหตุต่างๆ มักพบบ่อยๆ บริเวณภูเขาที่ลาดชัน แต่ความจริงอาจเกิดขึ้นบริเวณฝั่งแม่น้ำ และชายฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร แม้กระทั่งใต้มหาสมุทร แบ่งสาเหตุที่อาจทำให้ดินถล่มได้เป็น

1.  สาเหตุตามธรรมชาติ (Natural causes)
      -  ความแข็งแรงของดิน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของดิน (Soil composition) ว่าเป็น หินหรือ ดิน ประเภทใด มีโครงสร้างหรือมีต้นไม้ประกอบยึดเกาะกันแข็งแรงแค่ไหน มีชั้นดินดานตื้นหรือลึกในลักษณะใด
      -  ที่ที่มีความลาดเอียงมาก (Steep slope)
      -  มีฝนตกมากนานๆ (Prolong heavy rain)
      -  มีหิมะตกมาก (Heavy snowfall)
      -  โครงสร้างของแผ่นดิน (Structure of soil) ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้
      -  ฤดูกาล (Glacial erosion, rain, drought)
      -  ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง (Vegetation removal by fire or drought)
      -  แผ่นดินไหว (Earthquake)
      -  คลื่น "สึนามิ" (Tsunami)
      -  ภูเขาไฟระเบิด (Volcanic eruption)
      -  การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน (Change in underground water)
      -  การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน (Change in underground structure)
      -  การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป (Coastal erosion and change in continental slope)



1.  สาเหตุจากมนุษย์( Human causes )
       -  การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา ( Excavation of slpoe or its toe )  เพื่อการเกษตร  หรือทำถนน หรือขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน  หรือการทำเหมือง ( Mining ) ไม่ว่าบนภูเขาหรือพื้นราบ
       -  การดูดทรายจากแม่น้ำ  หรือบนแผ่นดิน 
       -  การขุดดินลึก ๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร 
       -  การบดอัดที่ดินเพื่อการก่อสร้าง  ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
       -  การสูบน้ำใต้ดิน  น้ำบาดาล  ที่มากเกินไป  หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน ในพื้นที่บางแห่ง
       -  การถมดิน  ก่อสร้าง  เพิ่มน้ำหนัก บนภูเขา  หรือสันเขา ( Loading or building on crest or slope )
       -  การทำลายป่า ( Deforestation )  เพื่อทำไร่ หรือสวนเกษตรกรรม
       -  การทำอ่างเก็บน้ำ ( Reservoir )  นอกจากเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขาแล้ว  ยังทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล
       -  การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ ( Change the natural stream )  ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล
       -  น้ำทิ้งจากอาคาร  บ้านเรือน  สวนสาธรณะ  ถนน  บนภูเขา ( Water from utilities leakages or or drainages )
       -  การกระเทือนต่าง ๆ เช่นการระเบิดหิน ( Artificial vibration ) 
ประเภทของดินถล่ม  ( Types of Landslides ) 

จากส่วนประกอบของดิน และสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดดินถล่ม ดังกล่าวมาแล้ว  ทำให้ลักษณะของดินถล่มมีรูปแบบต่าง ๆ กัน ดังนี้ 

1.      การตกหล่น ( Falls ) มักเป็นก้อนหิน( Rock )  หรือ หินก้อนใหญ่ทั้งก้อน ( Boulder ) อาจตกหล่นลงมาโดยตรง ( Free fall )  หรือตกกระดอน ๆ ลงมา ( Bouncing )  หรือกลิ้งลงมา ( Rolling )  และสำหรับกรณีที่หินร่วงตกลงมามาก ๆ เป็นกองใหญ่  เช่นจากภูเขาที่มีน้ำแข็ง  หินที่ตกลงมาจะกองเป็นรูปกรวยคว่ำ ( cone-shape )  เรียกว่า Talus slope

2.      ล้มหรือหกคะเมน ( Topple )  มักเป็นหินที่เป็นแผ่นเป็นแท่งที่แตกและล้มคะเมนลงมา

3.   การคืบ - เคลื่อนไปช้า ๆ  (Creep)   ของดิน หรือหิน   เนื่องจากมีแรงดึงไปน้อย   พอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวไปเรื่อย ๆ แต่อย่างช้า ๆ มาก ๆ   ซึ่งมี  3 รูปแบบ คือ
ก.     เคลื่อนตามฤดูกาล ( Seasonal )  ที่มีความชุ่มและอุณหภูมิของดินชั้นล่างพอดีของแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนได้
ข.     เคลื่อนอย่างคงที่ตลอดเวลา ( Continuous ) จากแรงตึงมีมีอย่างคงที่
ค.     เคลื่อนด้วยอัตราเร่ง ( Progressive )  เพราะความลาดชันที่ทำให้แรงเคลื่อนเพิ่มขึ้นตามลำดับ

4.1   Transitional slide   ถ้าพื้นดินชั้นล่างเป็นแผ่นระนาบค่อนข้างเรียบ   พื้นดินข้างบนก็จะเคลื่อนลงมาในแนวขนานกับที่ลาดเอียงนั้น   ทิ้งรอยแยกเป็น ร่องไว้ด้านบน
4.2  <  Rotational slide    เมื่อพื้นชั้นล่างที่ดินแยกตัวเป็นที่ลาดโค้งเว้า  ดินที่จะเคลื่อนลงมาก็จะเคลื่อนโค้งหมุนตัวรอบแกนที่ขวางขนานกับที่ลาดเอียง นั้น หมุนตัวเข้าด้านใน  หากมีต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างอยู่บนนั้น ก็จะเห็นการเอียงเข้าหาด้านบนได้  ส่วนรอยเคลื่อนของผิวดินตรงขอบบนจะเป็นรอยโค้งเว้าขึ้นไปด้านบน  ทิ้งร่องรอยเป็นหน้าผาเว้าที่ชันกว่าเดิม  ส่วนที่พื้นดินด้านล่างลงไปจะมีดินถูกดันโป่งออกมาเป็นหย่อม ๆ ลักษณะคล้ายนิ้วเท้า เรียกว่า Toe   เป็นลักษณะให้สังเกตรู้ได้ว่า ที่ข้างบนขึ้นไปเคยมีดินถล่ม Landslide
ดินที่เคลื่อน แบบนี้  จะมีส่วนที่ยังเกาะเป็นชิ้นเป็นผืนเดียวกัน  เรียกว่า Slump  

5.      การไหล ( Flows )  เกิดจากมีส่วนประกอบของน้ำจำนวนมากและและไหลเร็วลงมาตามที่ลาดชัน  มีหลายแบบ ได้แก่
5.1         เศษดินทรายและเศษต้นไม้ ( Debris flow )  เป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ  และผงขนาดเม็ดทรายที่ไหลมากับน้ำ  พบเห็นบ่อยทั่วไป
5.2        การถล่มของก้อนหิมะที่ทับถมกันเป็นจำนวนมาก ( Debris avalanche )
5.3        ดินไหล( Earth flow )  มักเกิดในที่ไม่ลาดชันนัก ที่มีส่วนประกอบเป็นดิน โคลน และก้อนกรวดเล็ก ๆ ในบริเวณที่ชุ่มน้ำมากจนเป็นส่วนผสมที่เหลวจนไหลได้  จึงไหวลงมาเป็นทางแคบ ๆ  มากองอยู่ในที่ต่ำลงมา    ทิ้งร่องรอยที่เดิมเป็นแอ่ง  ทำให้เป็นรูปคล้ายนาฬิกาทราย
5.4        โคลนไหล ( Mudflow )  เกิดเช่นเดียวกับข้อก่อน  แต่มีส่วนผสมเป็นโคลนและทรายและน้ำ  ซึ่งในบางครั้งน้ำโคลนที่ขังอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมากอาจทะลักและไหลออกมา อย่างรวดเร็วเป็นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ( Torrent ) สามารถไหลไปได้ไกล  ลงไปท่วมในที่ต่ำข้างล่างได้  และหากท่วมเข้าไปในหมู่บ้านหรือเมืองบริเวณเชิงเขา  จะทำให้ผู้คนเสียชีวิตได้มาก เพราะหนีออกจากน้ำโคลนได้ยาก   ส่วนโคลนร้อนที่ถูกพ่นออกมาจากภูเขาไฟ  เรียกว่า  Lahar 

6.   การเคลื่อนแผ่ออกไปด้านข้าง( Lateral  spreading )  เกิดในที่ลาดชันน้อยหรือที่ราบ เนื่องจากมีความชุ่มน้ำมากจนพื้นดินเริ่มเหลวตัว ( Liquefaction )  พื้นดินไม่มีแรงพอที่จะเกาะกุมกัน  จึงแผ่ตัวออกไปทางข้าง ๆ    และบางครั้งตรงขอบบนของที่ลาดเอียงเล็กน้อยนั้น อาจเกิดรอยแยกของดิน  หรือตรงด้านข้างอาจเกิดการหมุนตัวของแผ่นดิน หรือในที่ลาดเอียงบางแห่งจะมีการเคลื่อนเร็วขึ้น จนเป็นดินเลื่อน หรือดินไหลได้











ความเสียหายที่เกิดขึ้น
1.บริเวณที่เกิด ดินถล่ม จะทำให้โครงสร้างของชั้นดินบริเวณนั้นเสียสมดุล เป็นเหตุให้เกิด ดินถล่ม ซ้ำได้
2.ทำลายระบบนิเวศน์และชุมชน
3.สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การเตรียมการและการป้องกัน
1.สังเกตและระมัดระวังพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน
2.วางแผนการอพยพหนีภัย เก็บของมีค่า และเอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย
3.ปลูกต้นไม้ที่มีระบบรากแก้วเพื่อยึดเหนี่ยวชั้นดิน

ที่มา  http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=9&auto_id=7&TopicPk=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น