วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันประชากรโลก



11 กรกฎาคม
วันประชากรโลก
     เมื่อกล่าวถึง ประชากร มักจะมองเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลกเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศในโลก องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญของประชากร โดยประกาศในปี 2530
ให้    วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปีเป็น วันประชากรโลก   สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความสนใจและได้จัดทำบทความนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มประชากรโลกและสถานการณ์ของประชากรไทย
     เมื่อกล่าวถึง ประชากร มักจะมองเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา(Dynamic  สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความสนใจและได้จัดทำบทความนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มประชากรโลก และสถานการณ์ของประชากรไทย  ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 3,000 ล้านคน ในปี 2504 เป็น 4,000 ล้านคน ในปี 2518 และเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนครบ 5,000 ล้านคน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 (องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันประชากรโลก")จากนั้นประชากรโลกก็เพิ่มเป็น 6,000 ล้านคน ในปี 2542
     และจากการคาดประมาณ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม 2546 นี้ โลกจะมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6,300 ล้านคน  เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของประชากรโลก จะเห็นว่าประเทศจีนและอินเดียเพียง 2 ประเทศเท่านั้น ก็มีประชากรประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลกแล้ว ที่น่าสนใจคือประเทศที่มีประชากรมากส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชีย หรือประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียและประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก
      การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่เกิดจากปัจจัยหลักเพียง 2 ประการคือ การเกิด และการตาย ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของประชากร ในภูมิภาคย่อยๆ เช่น ทวีปหรือประเทศ ที่มีปัจจัยหลักนอกจากการเกิด และการตายแล้ว ยังมีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย   ประเทศไทยมีขนาดของประชากรประมาณ 1% ของประชากรโลกและมีการเพิ่มขึ้นของประชากรประมาณ 1 ใน 140 ส่วนของการเพิ่มประชากรโลก  หรืออาจกล่าวได้ว่าทุก 1 นาที โลกจะมีเด็กเกิดใหม่ 140 คน  ในขณะที่ประเทศไทยทุก 1 นาที จะมีประชากรไทยเพิ่มขึ้น 1 คน  ซึ่ง 1 คนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจจะเป็นเด็กเกิดใหม่ หรืออาจจะเป็นการเพิ่มโดยการย้ายถิ่นเข้ามาจากต่างประเทศก็ได้  แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และประชากรไทยดังกล่าวนั้น เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี
     สำหรับประเทศไทยนั้นมีประชากรครบ 50 ล้านคน เมื่อปี 2527 และ 60 ล้านคน ในอีก 12 ปีต่อมา(ปี2539)  ต่อจากนั้นได้มีการคาดประมาณว่าจะมีประชากร 70 ล้านคน ในอีก 23 ปีข้างหน้า คือ ปี 2562  จะเห็นได้ว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรไทยเป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด  อีกทั้งประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการวางแผนครอบครัว จนทำให้ปัจจุบันประชากรไทย มีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน  หรือกล่าวได้ว่าสตรี 1 คน จะมีบุตรน้อยกว่า 2 คน

     ในขณะที่อายุของคนไทยยืนยาวขึ้น ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต คือ ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุ(60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่รวดเร็วมากจากร้อยละ 5.7 ในปี 2527 เป็นร้อยละ 9.6 ในปี 2546 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก(0-14 ปี) จะลดลงจากร้อยละ 36.9 ในปี 2527 เหลือเพียงร้อยละ 20.0 ในปี 2562 ถ้าเป็นเช่นนี้ในอนาคตประเทศไทยน่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก
      การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเป็นประชากรสูงอายุนี้ กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อทุกคนในสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม เช่น การบริโภค การลงทุน การออม ตลาดแรงงาน ระบบการจ่ายเบี้ยบำนาญ การเก็บภาษี การให้บริการสาธารณสุข สถาบันครอบครัว แบบแผนการอยู่อาศัย การย้ายถิ่น เป็นต้น
สรุป      ประชากรโลกและประชากรไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ที่คล้ายคลึงกัน คือการเกิด และการตาย แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรไทย มีการย้ายถิ่นเกี่ยวข้องด้วย ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลกอยู่ในทวีปเอเชีย ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีประชากร มากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก และมีประชากรคิดเป็น 1% ของประชากรโลก ขนาดของประชากรไทยมีการเคลื่อนไหวของจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี ประเทศไทยประสบความสำเร็จด้านการวางแผนครอบครัว ทำให้มีอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทน  ในขณะที่ประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างของประชากรไทยจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นประชากรสูงอายุในอนาคต
      อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ปัญหาประชากร นับเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ซึ่งมีการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งกลุ่มอายุหลักๆ ได้เป็นประชากร 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน และวัยสูงอายุ และมีการนำเอาผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการพัฒนา และการวางแผนการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของคน

ที่มา : http://www.aksorn.com/event/event_detail.asp?id=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น