วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สวนหินผางาม

สวนหินผางาม อ.หนองหิน จ.เลย

สวนหินผามีลักษณะ เป็นทางเดินลัดเลาะไปตามซอกหลืบในหินปูน ทางเดินภายในสวนหินมีความวกวนคล้ายเขาวงกต ระหว่าง ทางจะพบหินปูนรูปร่างแปลกตาเนื่องจากเกิดจากการทําละลายโดยน้ําฝน เช่น รูปร่างคล้ายหนามแหลม สะพานหินธรรมชาติ
...

หินบริเวณนี้ประกอบด้วยหินปูนสีเทา เทาอ่อน ถึงสีขาว แบบมวลเนื้อหินถึงขนาด ชั้นหนาของหมวดหินน้ํามโหฬารในเนื้อหินพบซากดึกดําบรรพ์ สัตว์ทะเลจํานวนมาก เช่น แบรคิโอพอด ฟูซูลินิด และพลับพลึงโบราณ เป็นต้น บ่งบอกถึงสภาพการสะสมตัวในทะเลเขตร้อน ในช่วงยุคเพอร์เมียน ตอนล่าง (ประมาณ 286-258 ล้านปีก่อน)

ตำแหน่ง http://goo.gl/maps/kdpoR
ข้อมูล กรมทรัพยากรธรณี

เครดิตภาพ มดเขียว via taklong.com
ดูเพิ่มเติม

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แผนที่ธรณีวิทยาของดวงจันทร์


แผนที่ธรณีวิทยาของดวงจันทร์ (1961) ได้จากการแปลความหมายจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยมนุษย์คนแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์ นิล อาร์มสตรอง ไปกับอพอลโล 11 ในปีค.ศ.1969

การทำแผนที่ธรณีวิทยาผ่านภาพถ่ายเรียกว่า Photogeologic Mapping โดยการดูภูมิประเทศของพื้น
ที่ และเปรียบเทียบการเกิดก่อน-หลังของลักษณะเด่น เช่น หลุมอุกกาบาต หรือรอยเลื่อน

ในแผนที่ฉบับแรกได้แบ่งลักษณะพื้นผิวดวงจันทร์ออกแบบสามกลุ่มใหญ่ คือ หินอายุแก่มาก (สีน้ำตาล) หินอายุอ่อนกว่า (สีเหลือง) และหินปัจจุบัน (สีเขียว)

ดาวน์โหลดแผนที่
http://www.lpi.usra.edu/resources/mapcatalog/ESS/I351A/

แบบฝึกหัดการทำแผนที่
http://solarsystem.nasa.gov/educ/docs/22.pdf

นักธรณีวิทยาคนสุดท้ายบนดวงจันทร์
http://geothai.net/gneiss/?p=1665

แผนที่โดย USGS

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Scale is matter!!


Scale is matter!! สัดส่วนใครคิดว่าไม่สำคัญ ภาพที่เห็นหากไม่ได้อ้างอิงถึงสัดส่วนของภาพอาจเกิดความเข้าใจผิด แก่คนรับสารได้ง่ายมาก

ภาพซ้าย เป็นภาพจากกล้องไมโครสโคป ของรอยแตก (crack) ในเหล็กที่เกิดจากการทดสอบโค้งงอ ซึงรอยแตกที่เห็นนี้มีความลึก
ในระดับไมโครเมตร

ภาพขวา เป็นภาพของ Red canyon in Eilat Mounatains , Israel ซึงเกิดจากกัดเซาะของทางน้ำ ในหินทรายสีแดง (red sandstone) ซึงความสูงจากระดับพื่นปกติสู่จุดตำสุดของเหว อาจลึกถึงหลายร้อยเมตรหรือระดับกิโลเมตร

มันใหญ่กว่ากันกี่เท่า ลองคำนวนกันดู

สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ/ค่ะ

credit (R):http://www.colourbox.com/preview/1630573-858206-a-red-canyon-in-mountains-about-eilat-in-israel.jpg

credit (L): 2011 FEI Image Contest Winner - Microcrack after bending test Courtesy of Martina Dienstleder,http://gizmodo.com/5827131/2011-feis-electronic-microscope-image-contest-gallery

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำตกแสงจันทร์


น้ำตกแสงจันทร์ หรือน้ำตกรู ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี น้ำตกมีความสูงประมาณ 8 เมตร มีรูบริเวณชะง่อนผาที่ยื่นออกมา เป็นทางผ่านของน้ำตกสู่เบื้องล่าง มองดูคล้ายแสงจันทร์เต็มดวง

น้ำตกแสงจันทร์ ไหลผ่านหินทราย ของหมวดหินภูพาน ที่เกิด
จากการสะสมตัวของตะกอนในสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำประสานสายและแบบทางน้ำโค้งตวัด ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนชื้น ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย (~97-65 ล้านปี)

คลิปรายการท่องเทียว http://youtu.be/e6s4Z2lY1Ho

ฟรีโปสเตอร์ การโค้งตวัดของแม่น้ำ http://flic.kr/p/c4HHCo

Photo via w-t-g.blogspot.co.uk

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อีก 40 ปีข้างหน้า หรือในปีพ.ศ.2595


คาดการณ์ว่าในอีก 40 ปีข้างหน้า หรือในปีพ.ศ.2595 จะมีประชากรอาศัยอยู่บนโลกมากถึง 9,000 ล้านคน การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกส่งผลให้ความต้องการด้านพลังงานมีสูงขึ้น สารคดี Earth 2050: The Future of Energy โดยบริษัท Shell จะพาท่านไปชมโลกอนาคต และความท้าทายในการแสวงหาพลังงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกรูปแบบ

รับชมสารคดีจำลองโลกอนาคตได้ที่นี่http://geothai.net/gneiss/?p=1918

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โลกร้อนขึ้นจริงหรือแค่เปลี่ยนแปลงตามวัฎจักร


สภาพอากาศแปรปรวน โลกร้อนขึ้นจริง หรือแค่เปลี่ยนแปลงตามวัฎจักร
Mthainews: ความแปรปรวน เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สร้างปัญหาไปทั่วโลก เห็นได้จากภัยธรรมชาติในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับภัยธรรมชาติทั้งภัยแล้ง อากาศที่ร้อน เกิดพายุ ดินถล่ม  ภัยน้ำท่วม และน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งประชาชนต้องติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ ชาวกทม.ต่างก็บ่นกันระงมกับปัญหาฝนตก น้ำท่วม รถติด จนการจราจรเป็นอัมพาตเดินทางแสนลำบาก โดยร่องมรสุมยังคงมีกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2555  ที่มีฝนตกหนักใน กทม.มากกว่าเดิมถึง 10 เท่า จนไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน
ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศยังส่งผลต่อ บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก  มีการพยากรณ์จากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ว่า ช่วงนี้ (ปลายเดือน ก.ย. นี้ไปจนถึงต้นเดือน ต.ค.) หลายพื้นที่จะเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ  เกิดฝนตกชุกกว่าปกติ โดยปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีกำลังอ่อน จะก่อตัวมีกำลังแรงขึ้นในเดือน ก.ย. และต.ค.และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องกินเวลานานจนถึงสิ้นฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ แต่ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยก็คงหาทางรับมือต่อไป โดยจะสลับกันเกิดแต่ละภาคในแต่ละพื้นที่  นอกจากจะประสบกับปัญหาที่น้ำมากผิดปกติในช่วงฤดูฝนแล้ว ยังคงต้องเตรียมใจรับสภาพกับภัยแล้งเมื่อน้ำลด เพราะการบริหารจัดการน้ำที่ปล่อยน้ำทิ้งเกือบหมดเขื่อนนั้นอาจจะเกิดสภาวะภัยแล้ง
นายสมิทธ ธรรมสโรช
นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ปลายนี้ กับปีหน้าลมสุริยะจะรุนแรงขึ้น ตามที่ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรประจำองค์การนาซ่า ระบุว่าจะเกิดพายุสุริยที่กระทบต่อโลกรุนแรงกว่าทุกปี เป็นเรื่องที่่คนไทยควรหาความรู้รับมือด้วยตนเองดีกว่าพึ่งพามาตรการจาก รัฐบาล ภัยธรรมชาติเกิดรุนแรงขึ้นทุกด้าน…
ธรรมชาติกำลังส่งสัญญาณอะไรถึงมนุษย์ เหตุใดจึงมีความแปรปรวนเช่นนี้ทุกๆปี
อย่างไรก็ตามหากจะมองเป็นเรื่องของธรรมชาติ ก็จะเห็นว่า ธรรมชาติกำลังส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมหาศาล เพราะธรรมชาติไม่เคยปราณี และเราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิจัยร่วมในองค์การนาซา กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกจะละลายมากขึ้น ทำให้ก๊าซมีเทนผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า
ขณะเดียวกันก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่มองว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกนั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มักจะเกิดขึ้นพันล้านปีมาแล้ว โลกมีอุณหภูมิร้อนและเย็น สลับกันมาเป็นเวลานาน เป็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามวัฎจักร เและช่วงเวลาในปัจจุบันเป็นเพียงจุดเล็กๆของช่วงเวลาที่จะต้องรับสภาพ แก้ไขปัญหาเท่านั้นเอง ภาวะโลกร้อนขึ้นจึงเป็๋นเพียงวาทะกรรมที่โหมประโคมข่าวก่อนที่จะถึงวันสิ้นโลก
แต่ในช่วงปี 1880 เป็นต้นมา หากแสดงเป็นคลิปวีดิโอแผนภาพของอุณหภูมิทั่วโลกของนาซา ก็จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น นั่นเป็นผลของการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ  เกิดก๊าซเรือนกระจก คลื่นความร้อนที่กำลังปกคลุมไปทั่วโลกช่วงศตวรรษที่ผ่านมากำลังเป็นสิ่งเตือนว่า โลกกำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ หากเป็นไปตามวัฎจักร ก็จะมีสักวันสภาพอากาศจะลดลง

พายุดีเปรสชั่น 5-7 ตุลาคม



ภาพจาก ทีวีไทย
นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า สภาพอากาศโดยรวมของประเทศไทยในช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม จะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากพายุดีเปรสชั่นกำลังแรงที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้ เคลื่อนที่ผ่านประเทศเวียดนาม
ส่งผลให้ไทยในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในอัตราปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยที่ 100 มิลลิเมตร ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเตรียมรับมือกับฝนที่กำลังจะตกหนักต่อจากนี้
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น กรมอุตุฯได้ออกประกาศเตือน แจ้งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าตื่นตกใจ โดยให้รับฟังสถาณการณ์เพื่อให้สามารถเตรียมตัวได้ทัน
นายสมชาย กล่าวด้วยว่า พายุดีเปรสชั่นดังกล่าวเป็นพายุลูกแรกที่เข้าไทยในปีนี้ และคาดว่าจะมีโอกาสเกิดพายุขึ้นได้อี 1-2 ลูกเท่านั้น ซึ่งฤดูฝนจะหมดลงในสิ้นเดือนนี้ และเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวต่อไป