วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โลกร้อนขึ้นจริงหรือแค่เปลี่ยนแปลงตามวัฎจักร


สภาพอากาศแปรปรวน โลกร้อนขึ้นจริง หรือแค่เปลี่ยนแปลงตามวัฎจักร
Mthainews: ความแปรปรวน เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สร้างปัญหาไปทั่วโลก เห็นได้จากภัยธรรมชาติในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับภัยธรรมชาติทั้งภัยแล้ง อากาศที่ร้อน เกิดพายุ ดินถล่ม  ภัยน้ำท่วม และน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งประชาชนต้องติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ ชาวกทม.ต่างก็บ่นกันระงมกับปัญหาฝนตก น้ำท่วม รถติด จนการจราจรเป็นอัมพาตเดินทางแสนลำบาก โดยร่องมรสุมยังคงมีกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2555  ที่มีฝนตกหนักใน กทม.มากกว่าเดิมถึง 10 เท่า จนไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน
ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศยังส่งผลต่อ บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก  มีการพยากรณ์จากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ว่า ช่วงนี้ (ปลายเดือน ก.ย. นี้ไปจนถึงต้นเดือน ต.ค.) หลายพื้นที่จะเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ  เกิดฝนตกชุกกว่าปกติ โดยปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีกำลังอ่อน จะก่อตัวมีกำลังแรงขึ้นในเดือน ก.ย. และต.ค.และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องกินเวลานานจนถึงสิ้นฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ แต่ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยก็คงหาทางรับมือต่อไป โดยจะสลับกันเกิดแต่ละภาคในแต่ละพื้นที่  นอกจากจะประสบกับปัญหาที่น้ำมากผิดปกติในช่วงฤดูฝนแล้ว ยังคงต้องเตรียมใจรับสภาพกับภัยแล้งเมื่อน้ำลด เพราะการบริหารจัดการน้ำที่ปล่อยน้ำทิ้งเกือบหมดเขื่อนนั้นอาจจะเกิดสภาวะภัยแล้ง
นายสมิทธ ธรรมสโรช
นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ปลายนี้ กับปีหน้าลมสุริยะจะรุนแรงขึ้น ตามที่ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรประจำองค์การนาซ่า ระบุว่าจะเกิดพายุสุริยที่กระทบต่อโลกรุนแรงกว่าทุกปี เป็นเรื่องที่่คนไทยควรหาความรู้รับมือด้วยตนเองดีกว่าพึ่งพามาตรการจาก รัฐบาล ภัยธรรมชาติเกิดรุนแรงขึ้นทุกด้าน…
ธรรมชาติกำลังส่งสัญญาณอะไรถึงมนุษย์ เหตุใดจึงมีความแปรปรวนเช่นนี้ทุกๆปี
อย่างไรก็ตามหากจะมองเป็นเรื่องของธรรมชาติ ก็จะเห็นว่า ธรรมชาติกำลังส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมหาศาล เพราะธรรมชาติไม่เคยปราณี และเราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิจัยร่วมในองค์การนาซา กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกจะละลายมากขึ้น ทำให้ก๊าซมีเทนผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า
ขณะเดียวกันก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่มองว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกนั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มักจะเกิดขึ้นพันล้านปีมาแล้ว โลกมีอุณหภูมิร้อนและเย็น สลับกันมาเป็นเวลานาน เป็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามวัฎจักร เและช่วงเวลาในปัจจุบันเป็นเพียงจุดเล็กๆของช่วงเวลาที่จะต้องรับสภาพ แก้ไขปัญหาเท่านั้นเอง ภาวะโลกร้อนขึ้นจึงเป็๋นเพียงวาทะกรรมที่โหมประโคมข่าวก่อนที่จะถึงวันสิ้นโลก
แต่ในช่วงปี 1880 เป็นต้นมา หากแสดงเป็นคลิปวีดิโอแผนภาพของอุณหภูมิทั่วโลกของนาซา ก็จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น นั่นเป็นผลของการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ  เกิดก๊าซเรือนกระจก คลื่นความร้อนที่กำลังปกคลุมไปทั่วโลกช่วงศตวรรษที่ผ่านมากำลังเป็นสิ่งเตือนว่า โลกกำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ หากเป็นไปตามวัฎจักร ก็จะมีสักวันสภาพอากาศจะลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น