วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Gis กับ น้ำท่วม


     ปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มฉับพลัน เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อประชาชน ที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้หลายครั้งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นที่ตำบลน้ำก่อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (2545) ที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2517) และที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ (2544) จากการเกิดปัญหาที่รุนแรงและซ้ำซาก ภาครัฐ ซึ่งเป็นฝ่ายที่จะต้องเรียนรู้และป้องกันอุบัติภัยจึงได้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ามาใช้ในเป็นแนวทางในการป้องกันภัยในระยะยาวจากการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน โดยอาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบุรี มาเป็นกรณีศึกษา
     ระบบสารสนเทศภูมืศาสตร์ (Geographic Information System : GISหมายถึง เครื่องมือที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการนำเข้า จัดเก็บ จัดเตรียม ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์ พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น GIS จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการและบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของข้อมูลและการผสานข้อมูลต่าง ๆ เช่นข้อมูลปฐมภูมิ (ข้อมูลจากการรวบรวมขึ้นจากแหล่งกำเนิดของข้อมูล เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สำรวจ เป็นต้น) 
 และ/หรือ ข้อมูลทุติยภูมิ (ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าข้อมูลทีมีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว เช่น จำนวนประชากรปี 2545 ของอำเภอหล่มสัก ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นต้น)  เพื่อให้เป็นข่าวสารที่มีคุณค่าและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการได้
     ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงพื้นที่  และข้อมูลเชิงบรรยาย โดยข้อมูลที่นำเข้ามาใช้ควรจะเป็นข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Themes) และเป็นข้อมูลที่จะสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ที่ต้องการได้ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
     ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของรูปลักษณ์ของพื้นที่ มี 2 แบบคือ ข้อมูลที่แสดงทิศทางและข้อมุลที่แสดงเป็นตารมกริด ประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง คือ ข้อมูลจุด ข้อมุลเส้น และข้อมูลพื้นที่
     ข้อมูลเชิงบรรยาย (Non-spatial data or attitude data) หมายถึง ข้อมูลทีประกอบจากตารางข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอธิบายข้อมูลเชิงพื้นที่
     เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบกันด้วยกระบวนการของ GIS จะสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการบริหารจัดการและป้องกันภัยที่จะเกิดจากอุบัติภัยดังกล่าวได้ แต่ทั้งนี้ต้องนำไปประกอบกับข้อมูลอื่น ๆ ด้วย เช่น  ข้อมูลความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันได้ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะมีสาเหตุอยู่ 2 ประการคือ
    1. สาเหตุจากธรรมชาติ
        อันประกอบไปด้วย ลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ความสูง ความลาดชัน ลักษณะทางธรณีวิทยา ได้แก่ ชนิดหิน รอบเลื่อน รอยแตก ลักษณะของดิน ได้แก่ ชนิดของดิน ความลึกของชั้นดิน ลักษณะของป่าไม้ ได้แก่ ชนิดของต้นไม้ ขนาดของต้นไม้ พื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำ ได้แก่ รูปร่างและขนาดของพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และเป็นปัจจัยตัวเร่ง
    2. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
          การจัดไม้ทำลายป่าและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่ถูกวิธี เช่น การสร้างเมืองในพื้นที่อ่อนไหวและมีความเสี่ยงสูง การบุกเบิกอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่เนินเขา การสร้างถนนขวางทางไหลออกสู่พื้นที่รับน้ำเมื่อน้ำท่วม เป็นต้น
    ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยายที่เป็นของ GIS ได้ และจะทำให้การนำใช้ประโยชน์จาก GIS มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เนื่องจากแม้ว่าข้อมูลที่ได้จากระบบGIS จะมีความละเอียดและครอบคลุมข้อมูลได้มาก แต่ก็จะเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บเอาไว้ในตารางต่าง ๆ ในขณะที่ข้อมูลเชิงพื้นที่ ก็จะแสดงเพียงขอบเขต ทิศทาง และพื้นที่ของข้อมูลที่ต้องการใข้เท่านั้น   ดังนั้นแล้ว การนำเอาข้อมูลเชิงบรรยายในประเด็นเรื่องอื่นที่ไม่สามารถหรือสามารถนำเข้าไปอยู่ในระบบข้อมูล GIS ได้แต่ไม่ละเอียดพอ  เข้ามา เช่น ชนิดและขนาดรวมไปถึงความหนาแน่นและการใช้ประโยชน์จากชุมชนของต้นไม้ในพื้นที่ดังกล่าว (ข้อมุล 3 ตัวแรกสามารถนำเข้าไปในระบบ GIS ได้บ้าง แต่ไม่ละเอียดพอ ส่วนข้อมูลหลังหากใช้เป็นเอกสารบรรยายจะมีคุณภาพมากกว่าเป็นข้อมูลใน GIS)  เข้ามาประกอบแล้วก็จะทำให้สามารถทำให้การใช้ GIS ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
การดำเนินการแก้ไขปัญหาในมุมมองของนักบริหารรัฐกิจ

         เนื่องจากประเด็นการป้องกันปัญหาและระวังภัยที่เกิดจากน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน เป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่ มีความรุนแรง และก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างใหญ่หลวง รวมทั้งมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งตามแนวทางการศึกษาและวิจัยในปัจจุบันที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้ในการบริหารจัดการ คือ การเฝ้าระวังในพื้นที่ที่ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์แล้วว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันในระดับสูง โดยทั้งนี้จะมีการวางแผนล่วงหน้า โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างรอบด้าน โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกันดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะต้องมีหน่วยงานหลักที่มีอำนาจในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล รวมไปจนถึงการสั่งการให้มีการปฎิบัติงานได้อย่างทันท่วงที เป็นหน่วยงานควบคุมหลัก  และจะต้องมีการติดตามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทุกขณะ เพื่อให้การเฝ้าระวังภัยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
     ซึ่งการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในแต่ละจังหวัด เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อที่ได้ทราบถึงพื้นที่กลุ่มเสี่ยง และดำเนินการเฝ้าติดตามระวังและลงทุนในการวางแผนป้องกันด้านกายภาพ ซึ่งวิธีการที่น่าสนใจคือ การใช้ 
GIS ในการแก้ปัญหาโดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
        
1.       จัดทำข้อมูลพื้นฐานเชิงบรรยาย แยกเป็นลักษณะทางกายภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ป่า แม่น้ำลำคลอง สาธารณูปโภค ถนน เส้นทางคมนาคม
        
2.       จัดทำข้อมูลพื้นฐานเชิงบรรยายทุกพื้นที่ในประเทศ เพื่อติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่อาจเกิดอันตรายจากสภาพธรรมชาติและสามรถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายอย่างทันท่วงที
        
3.       นำข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวมาจัดทำเป็นแผนที่โดยอาศัยเทคนิคการทับซ้อน ( Over lay ) เพื่อให้รู้ว่าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอันตราย
        
4.       เมื่อทราบพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว จึงส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบและเฝ้าระวังรวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์เตื่อนภัย ตามสภาพลักษณะปัญหา
        
5.       ติดตามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพก็ปรับปรุงแผนที่ให้ทันสมัยเพื่อง่ายต่อการเรียกดูข้อมูลและวางแผนในการใช้พื้นที่นั้น

     ทั้งนี้อาจจะต้องดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ/หรือ องค์กรภาคประชาชนต่าง ที่มีความรู้ความสามารถ และมีวัตถุประสงค์ด้านการเตือนระวังภัยในพื้นที่ของตนอยู่แล้ว ทั้งนี้จะเป็นประหยัดงบประมาณและยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเกาะติดสถานการณ์ได้มากกว่าเนื่องจากการได้เปรียบจากการเป็นคนที่พื้นที่นั้น ๆ เอง  การให้เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งหมดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ/หรือ องค์กรภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วมนั้น จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และล่าช้าไม่ทันท่วงทีได้


ประเด็นปัญหาของการใช้ระบบ GIS ในการเตือนภัยและป้องกันปัญหา
    ในการดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อที่จะจัดระบบป้องกันและเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยอาศัยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ามาใช้นั้น อาจจะต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ต่อไปนี้
    1. ขาดการนำ GIS  มาใช้อย่างทั่วถึงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในแง่ของความชำนาญของบุคลากรที่สามารถใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องและแง่ของความสนใจและเห็นความสำคัญของ GIS ในการบริหารรัฐกิจ
    
2. เครื่องมืออุปกรณ์ รวมไปถึงโปรแกรมที่ใช้มีราคาสูง ทำให้ไม่สามารถจัดซื้อ จัดหา และติดตั้งระบบดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากติดขัดในข้อของงบประมาณ
    
3. ความจริงจังของภาครัฐในการแก้ปัญหา
    
4. ความต่อเนื่องของการดำเนินงานของภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น มีนโยบายติดตั้งเครื่องมือแต่ไม่มีผู้รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่ดูแล ขาดการร่วมมือกับเจ้าของพื้นที่ เป็นต้น
    5. ข้อมูลพื้นที่ยังมีไม่เพียงพอและไม่ครบถ้วน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาอีกสักระยะหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนทั้งประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น