วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โฟโตแกรมเมตรี^^


การประยุกต์ใช้งานทางงานโฟโตแกรมเมตรี

งานโฟโตแกรมเมตรีเป็นงานที่มีความสำคัญและเอื้อประโยชน์ต่องานต่างๆ หลายด้าน ตัวอย่างของงานเหล่านั้น ได้แก่
  1. การทำแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนและการก่อสร้างทางวิศวกรรม เช่น การก่อสร้างทางหลวง
  2. การสำรวจทรัพยากร ทั้งการทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรม และการชลประทาน เป็นต้น
  3. การศึกษาพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
  4. การศึกษาการใช้ที่ดิน
  5. การศึกษาสิ่งต่าง ๆ บนดาวดวงอื่น เช่น การหาพื้นที่ลงจอด และ การสำรวจทางธรณี
  6. การสำรวจที่ดิน
  7. การแพทย์มีการใช้หลักการทางโฟโตแกรมเมตรีในการวิเคราะห์ภาพจากเครื่องมือถ่ายภาพ
  8. การสร้างข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นต้น

ระบบงานทางโฟโตแกรมเมตรี สามารถแบ่งออกเป็นสองงานหลัก คือ
1) การจัดทำและเตรียมภาพรวมทั้งข้อมูลสนับสนุน 
2) การประมวลผลภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
          งานแรกเป็นกระบวนตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดคุณลักษณะ วางแผน บินถ่ายภาพ หรือรับข้อมูลภาพจากแหล่งข้อมูล ประมวลผลเบื้องต้นเพื่อเตรียมภาพสำหรับใช้ในระบบประมวลผลขั้นต่อไป และ เตรียมข้อมูลสนับสนุน เช่น การรวบรวมข้อมูลจุดควบคุมภาคพื้นด้วย ส่วนงานที่สองจะรวมถึงการตัดสินใจเลือกระบบประมวลผลทางโฟโตแกรมเมตรีสำหรับ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้วงานทางโฟโตแกรมเมตรี สามารถแบ่งกว้าง ๆ ออกตามระบบที่ใช้ในการถ่ายภาพเป็นงานที่ใช้ภาพดาวเทียม งานที่ใช้ภาพจากอากาศยาน และงานที่ใช้ภาพจากกล้องที่ถ่ายระยะใกล้ ๆ โดยงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ใช้ภาพจากกล้องถ่ายภาพอากาศที่มีความแม่นยำสูง และผ่านกระบวนการเทียบมาตรฐานแล้ว


กล้องถ่ายภาพทางอากาศมีส่วนประกอบที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่เราสามารถอธิบายลักษณะทางเรขาคณิตของกล้องถ่ายภาพได้ไม่ยาก โดยพิจารณากล้องที่ประกอบด้วยเลนส์หลายชิ้นเป็นเพียงจุด ๆ หนึ่ง เรียกว่าจุดศูนย์กลางการฉาย โดยทั่ว ๆ ไปแล้วการถ่ายภาพทางอากาศมักถ่ายในลักษณะที่แกนของกล้องอยู่ในแนวดิ่ง ทำให้ภาพครอบคลุมพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส การบินถ่ายภาพสำหรับการทำแผนที่มักทำเป็นแนวโดยแต่ละแนวห่างกันในระยะที่ทำ ให้เกิดส่วนเหลื่อมระหว่างแนวบินประมาณร้อยละ 25 ของความกว้างของพื้นที่ที่ครอบคลุมโดยภาพ ภายในแต่ละแนวบินก็จะมีส่วนเหลื่อมระหว่างภาพประมาณร้อยละ 60 การถ่ายภาพให้มีส่วนเหลื่อมนี้มีวัตถุประสงค์หลักสามประการ คือ
1) ให้พื้นที่ที่สนใจทั้งหมดปรากฏบนภาพอย่างน้อยสองภาพที่ถ่ายทีละจุด เพื่อประโยชน์ในการมองภาพสามมิติ
2) สามารถใช้เพียงบริเวณส่วนกลางของภาพในการติดต่อหรือโมเสคภาพ และ
3)สามารถใช้ส่วนเหลื่อมเล็กๆระหว่างภาพในการขยายจุดบังคับภาพพื้น
ดินด้วยวิธีการทางโฟโตแกรมเมตรี


ภาพที่ได้จากระบบถ่ายภาพจะใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสู่ระบบประมวลผล ซึ่งอาจเป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ทีละภาพหรือทีละหลายภาพพร้อมกัน ระบบในแบบหลังมักเป็นระบบที่สามารถใช้มองภาพสามมิติได้ เครื่องมือเหล่านี้ในอดีตเรียกว่า เครื่องเขียนงานโฟโตแกรมเมตรี ซึ่งใช้ภาพที่อยู่ในรูปของฟิล์ม ส่วนในปัจจุบันระบบประมวลผลจะเป็นโปรแกรมเฉพาะทางที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพสูง เรียกว่า เป็นสถานีงานโฟโตแกรมเมตรี ซึ่งทำงานกับภาพเชิงเลขจึงสามารถประมวลผลโดยใช้ภาพหลายภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบในอดีตหรือปัจจุบันต่างก็มีความสามารถพื้นฐาน ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุบนโลกและภาพของวัตถุเพื่อใช้ในการเก็บ ข้อมูลจากภาพได้เช่นเดียวกัน

การประยุกต์ใช้งานทางงานโฟโตแกรมเมตรี

งานโฟโตแกรมเมตรีเป็นงานที่มีความสำคัญและเอื้อประโยชน์ต่องานต่างๆ หลายด้าน ตัวอย่างของงานเหล่านั้น ได้แก่
  1. การทำแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนและการก่อสร้างทางวิศวกรรม เช่น การก่อสร้างทางหลวง
  2. การสำรวจทรัพยากร ทั้งการทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรม และการชลประทาน เป็นต้น
  3. การศึกษาพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
  4. การศึกษาการใช้ที่ดิน
  5. การศึกษาสิ่งต่าง ๆ บนดาวดวงอื่น เช่น การหาพื้นที่ลงจอด และ การสำรวจทางธรณี
  6. การสำรวจที่ดิน
  7. การแพทย์มีการใช้หลักการทางโฟโตแกรมเมตรีในการวิเคราะห์ภาพจากเครื่องมือถ่ายภาพ
  8. การสร้างข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น