วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

GIS


GIS A Computerized database management system

GIS A Computerized database management system
       " GIS A Computerized database management system for capture storage retrieval analysis and display of spatial  ( locationally defined ) data
" ( NCGIA : National Center Geographic Information and Analysis, 1989 )

GIS การจัดการฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์สำหรับจับภาพ  การดึง  การวิเคราะห์ 
 เรียกข้อมูล    การวิเคราะห์และการแสดงเชิงพื้นที่ (ตามที่กำหนดทางพื้นที่)
"(NCGIA : ศูนย์สารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์แห่งชาติ 1989)

  National center for Geographic Information and Analysis (NCGIA)
     ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา   เทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก หน่วยงานจำนวนนับไม่ถ้วนนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้   ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นผลให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเทคโนโลยีที่เจริญเติบโตเร็วที่สุด   ในบรรดาเทคโนโลยี    ที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน
       เหตุผลที่ทำให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เจริญเติบโตได้รวดเร็วนั้น    อาจเป็นเพราะว่าเทคโนโลยีนี้นำไปประยุกต์ใช้ได้ผลในงานต่าง ๆ มากมาย   แล้วก็เกิดขึ้นในช่วงที่มีความต้องการอย่างรุนแรงด้วย       จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่กำลังประสบอยู่       ทุกหนแห่ง  อันที่จริงสารสนเทศที่ต้องการการจัดการอย่างถูกวิธีเกือบทั้งหมดในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ล้วนแล้วแต่มีรูปลักษณะเชิงพื้นที่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว   สิ่งที่เราทั้งหลายทำก็เพียงนำเอาเทคโนโลยีนี้มาเพื่อช่วยตอบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งกำลังเป็นที่สงสัยกัน   การจะดูว่าเทคโนโลยีใดใช้งานได้ผลก็คงจะเป็นตอนที่มี       การนำเอาเทคโนโลยีนั้นไปใช้งานจริง ๆ   บางทีการนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้ไปใช้ช่วงสงครามคูเวตที่เพิ่งผ่านไป อาจจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนี้ได้อย่างดีที่สุด   การทดสอบที่มีชีวิตเป็นเดิมพันเช่นนี้ คงพอจะเป็นตัวชี้ให้เห็นชัดถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
นอกจากประเทศต่าง ๆ มากมายจะเห็นถึงคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วยงานที่เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้และได้นำไปใช้แล้ว   มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ระดับชาติขึ้นถึง แห่งได้แก่  ในประเทศแคนาดา     (Institute for GIS in Education, IGISE) ในอเมริกา (National Center for Geographic Information and Analysis, NCGIA) และในอังกฤษ (RRL, Regional Research Laboratories) เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่เทคโนโลยีในด้านนี้
สำหรับในประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ มีความตื่นตัวอย่างมากในการนำเอาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้   แม้จะรู้ว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องของประเทศ   การจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างที่กล่าวนั้น ยังคงต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำที่ดี    สถานะของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในประเทศไทยยังอยู่เพียงช่วงเริ่มต้นเท่านั้น     การจะปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่บกพร่องอยู่ยังเป็นไปได้ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ได้มีการจัดทำแผนแม่บท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้    การศึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งชาติ โดยจะกล่าวถึงแผนปฏิบัติการระยะ ปี ไว้ในรายงานฉบับนี้
ในการจะวางแผนให้หน่วยงานใด จะต้องพิจารณาว่าแผนที่ออกมานั้นหน่วยงานจะยอมรับและนำไปปฏิบัติได้หรือไม่   เป็นการยากที่จะได้รูปแบบของหน่วยงานอย่างที่ต้องการทุกประการ   องค์ประกอบของเศรษฐกิจโดยรวมเป็นสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการจัดรูปแบบของหน่วยงาน   รัฐบาลสามารถรองรับความต้องการนั้นได้หรือไม่   คำถามยังคงมีต่อในกรณีที่มีการเปลี่ยนคณะผู้บริหาร ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนที่รอบคอบ   เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ โดยมีการกำหนดหน้าที่หลักของหน่วยงานให้มีบทบาทที่เด่นชัด
รูปแบบที่มีการนำมาปฏิบัติคือ ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่เทคโนโลยีมีลักษณะเป็นศูนย์       ศูนย์สามารถจะ ควบคุม กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งด้านวิจัย ดำเนินการ การจัดสรรงบประมาณ              การประสานงาน และอื่นๆ ได้ทั้งหมด แม้จะมีข้อดีอยู่หลายประการ   แต่การจัดหน่วยงานในลักษณะของศูนย์แบบนี้ก็ยังมีข้อเสียคือจะมีการดึง อำนาจ ที่เคยเป็นของหน่วยงานภายใต้ดำเนินการในข้อมูลต่างๆ มารวมอยู่ที่ศูนย์   ซึ่งไม่เป็นที่พึงปรารถนาของหน่วยงานใดๆ ทั้งสิ้น
รูปแบบอีกอย่างที่อาจจะเหมาะสมกับลักษณะของคนไทย   คือ การเจรจาสร้างความตกลงร่วมกันของทุกๆ หน่วยงาน ซึ่งนับว่าสำคัญมากในการทำงานแบบเครือข่ายที่ให้ความสำคัญงานต่างๆ เท่าเทียมกัน ผลที่ออกมาจะอยู่ในลักษณะของความร่วมมือกันมากกว่าเป็นของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถตอบสนองต่อกลุ่มผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีและเข้าใจการทำงานในทุกๆขั้นตอนอย่างแจ่มชัด
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับหน่วยประสานงานหลัก ควรจะอยู่ภายใต้กระทรวงที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่เทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน (Ministry of Science, Technology and Energy - MOSTE) มีนโยบายและบทบาทที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่างๆฉะนั้นแล้วจึงเป็นสถานที่น่าจะเหมาะสมที่สุด
 อ้างอิงจาก
http://www.tdri.or.th/n17_abs.html

การบ้าน วันที่ 15 มิถุนายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น