วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเปลี่ยนแปลงลำน้ำโขง



    แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากภูเขาจี้ฟู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยบนที่ราบสูงธิเบต เขตจังหวัดหยู่ซู่ มลฑลฉิงไห่ ประเทศจีน โดยมีแม่น้ำจาคูและแม่น้ำอาคูไหลมารวมกัน คนจีนทั่วไปเรียก “ แม่น้ำหลานซาง ” ซึ่งมีความหมายว่า แม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก แต่คนชนชาติลื้อในแคว้นสิบสองปันนาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่าแม่น้ำล้านช้าง แม่น้ำโขงไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชาและไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ เวียตนาม มีความยาวทั้งสิ้น 4,909 กิโลเมตร มีความยาวเป็นอันดับ 10 ของโลก มีจำนวนพันธุ์ปลาที่สำรวจพบ 1,245 ชนิด มีพื้นที่ชุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร แม่น้ำโขงตอนบนจะได้รับน้ำจากการละลายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตอนล่างได้รับน้ำจากเทือกเขาต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง หล่อเลี้ยงชีวิตประชาชนกว่า 60 ล้านคนตลอดลำน้ำ และลำน้ำสาขา
      บริษัทพลังงานของจีนชื่อ China Huaneng Group (ไชน่า หัวนึง กรุ๊ป) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) ได้รับ “สิทธิในการพัฒนา” แม่น้ำหลานชาง โครงการประกอบด้วยเขื่อน 8 แห่ง เขื่อนมานวาน (Manwan) สร้างแล้วเสร็จเป็นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ. 2539 เขื่อนด้าเฉาชาน (Dachaoshan)สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2546 และเขื่อนเซี่ยวหวาน (Xiaowan )กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนเขื่อนอีก 5 แห่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษา เขื่อนทั้งหมดนี้สร้างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแก่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และประเทศไทย เขื่อนจิงหง (Jinghong) กำลังผลิตติดตั้ง 1,500 เมกกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสร้างเร็วๆ นี้จะผลิตไฟฟ้าขายแก่ประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยและจีนได้ลงนามอย่างเป็นทางการในการพัฒนาเขื่อนแห่งนี้ และรัฐบาลไทยกำลังเจรจากับรัฐบาลยูนนานเพื่อซื้อไฟฟ้าบางส่วนเพิ่มเติมจากเขื่อนนอชาดู (Nuozhadu)
เขื่อนมั่นหวาน มณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
สร้างขึ้นเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยกั้นลำน้ำ Lancang ซึ่งเป็นลำน้ำตอนบนของแม่น้ำโขง เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2529 และเสร็จใน พ.ศ.2539 สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าปริมาณ 1,500 เมกกะวัตต์ ภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 ระบบ TM แบนด์ 4 5 1 - แดง เขียว น้ำเงิน เปรียบเทียมสภาพลำน้ำระหว่างกำลังสร้างเขื่อน (วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2534 - ภาพซ้าย) และหลังการสร้างเขื่อน (วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 - ภาพกลาง และวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2547 - ภาพขวา)
เขื่อนด้าเฉาชาน มณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
สร้างขึ้นเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยกั้นลำน้ำ Lancang ซึ่งเป็นลำน้ำตอนบนของแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ใต้เขื่อนมั่นหวานประมาณ 131 กิโลเมตร ห่างจากคุนหมิง 600 กิโลเมตร มีขนาดสูง 111 เมตร และยาว 460.4 เมตร สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าปริมาณ 1,500 เมกกะวัตต์ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2540 และเสร็จใน พ.ศ.2544 ภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 ระบบ TM แบนด์ 4 5 1 - แดง เขียว น้ำเงิน เปรียบเทียมสภาพลำน้ำก่อนสร้างเขื่อน (วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2534 - ภาพซ้าย) และหลังการสร้างเขื่อน (วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 - ภาพกลาง และวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2547 - ภาพขวา)



บริเวณแม่น้ำโขงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำ
         ภาพสีผสมจากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT 5 TM สามารถนำมาศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในแม่น้ำ ดังตัวอย่างพื้นที่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำของลำน้ำโขง ซึ่งอาจเกิดจากผลกระทบของการสร้างเขื่อนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  (กรอบสีเหลือง)
         1. บ้านเสนโพเมือง สาธารณรัฐประชาชนจีน
         2. บ้านสันต้นเปา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
         3. บ้านเวียงเขา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
         4. บ้านสวนดอก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
         5. บ้านห้วยลัก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

1. บ้านเสนโพเมือง (Sen Po Meung) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
ภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 ระบบ TM แบนด์ 4 5 1 - แดง เขียว น้ำเงิน เปรียบเทียบสภาพลำน้ำช่วงสร้างเขื่อนและหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ
        - ภาพซ้าย วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ช่วงสร้างเขื่อน
        - ภาพกลาง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าแล้งหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ บริเวณลูกศรชี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำของแม่น้ำโขง
เนื่องจากปริมาณน้ำลดน้อย ทำให้เกิดสันทราย (สีขาวอมฟ้าในภาพ) ในแม่น้ำจำนวนมาก
        - ภาพขวา วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าน้ำหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ ปริมาณน้ำมีมากกว่าหน้าแล้งทำให้สันทรายในแม่น้ำหายไป 
2. บ้านสันต้นเปา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประเทศไทย
ภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 ระบบ TM แบนด์ 4 5 1 - แดง เขียว น้ำเงิน เปรียบเทียบสภาพลำน้ำช่วงสร้างเขื่อนและหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ
        - ภาพซ้าย วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ช่วงสร้างเขื่อน
        - ภาพกลาง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าแล้งหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ บริเวณลูกศรชี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำของแม่น้ำโขง
เนื่องจากปริมาณน้ำลดน้อย ทำให้เกิดสันทราย (สีขาวอมฟ้าในภาพ) ในแม่น้ำจำนวนมาก
        - ภาพขวา วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าน้ำหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ ปริมาณน้ำมีมากกว่าหน้าแล้งทำให้สันทรายในแม่น้ำหายไป 
3. บ้านเวียงเขา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประเทศไทย
ภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 ระบบ TM แบนด์ 4 5 1 - แดง เขียว น้ำเงิน เปรียบเทียบสภาพลำน้ำช่วงสร้างเขื่อนและหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ
        - ภาพซ้าย วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ช่วงสร้างเขื่อน
        - ภาพกลาง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าแล้งหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ บริเวณลูกศรชี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำของแม่น้ำโขง
เนื่องจากปริมาณน้ำลดน้อย ทำให้เกิดสันทราย (สีขาวอมฟ้าในภาพ) ในแม่น้ำจำนวนมาก
        - ภาพขวา วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าน้ำหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ บริเวณลูกศรชี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำของแม่น้ำโขง
4. บ้านสวนดอก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประเทศไทย
ภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 ระบบ TM แบนด์ 4 5 1 - แดง เขียว น้ำเงิน เปรียบเทียบสภาพลำน้ำช่วงสร้างเขื่อนและหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ
        - ภาพซ้าย วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ช่วงสร้างเขื่อน
        - ภาพกลาง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าแล้งหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ บริเวณลูกศรด้านขวาชี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำของแม่น้ำโขง
เนื่องจากปริมาณน้ำลดน้อย ทำให้เกิดสันทราย (สีขาวอมฟ้าในภาพ) ในแม่น้ำเพิ่มขึ้น  และเริ่มมีการขุดร่องน้ำใหม่ (ลูกศรด้านซ้าย) ในฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
        - ภาพขวา วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าน้ำหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ  บริเวณลูกศรชี้เป็นร่องน้ำใหม่ที่ขุดขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้สันทรายในแม่น้ำหายไป 
5. บ้านห้วยลัก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ประเทศไทย
ภาพจากดาวเทียม LANDSAT 5 ระบบ TM แบนด์ 4 5 1 - แดง เขียว น้ำเงิน เปรียบเทียบสภาพลำน้ำช่วงสร้างเขื่อนและหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ
        - ภาพซ้าย วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ช่วงสร้างเขื่อน
        - ภาพกลาง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าแล้งหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ บริเวณลูกศรชี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำของแม่น้ำโขง
เนื่องจากปริมาณน้ำลดน้อย ทำให้เกิดสันทราย (สีขาวอมฟ้าในภาพ) ในแม่น้ำจำนวนมาก
        - ภาพขวา วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2547 ช่วงหน้าน้ำหลังจากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ ปริมาณน้ำมีมากกว่าหน้าแล้งทำให้สันทรายในแม่น้ำหายไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น