วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

หินเชิร์ต (Cherts)


หินตะกอน วันนี้แนะนำ... หินเชิร์ต (Cherts)
หินชั้นเนื้อแน่น แข็ง เหนว ผิวด้านถึงวาวเกือบคล้ายแก้ว มีรอยแตกแบบก้นหอยหรือคล้ายเสี้ยนไม้ มักเป็นผลึกซ่อนรูปหรือจุดผลึก โดยมีควอตซ์ประสานกันอยู่ อาจมีซิลิกาอสัณฐาน(โอพอล)ปนอยู่ด้วย
บ้างครั้งมีสารม
ลทิน เช่น แคลไซต์ เหล็กออกไซด์ และซากสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วย (เช่น radiolaria) มีสีต่างๆ ถ้าสีเข้มเรียกว่า หินเหล็กไฟ (flint) สีแดงเรียกว่าแจสเพอร์ (jasper) สีแดงคล้ายดินเผาเรียกว่า หินพอร์เซลลาไนต์ (porcellanite)
(พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
ข้อมูลเพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/หินเชิร์ต

การแปรสภาพ
ชั้นหินเชิร์ตจากภาพ ถูกแรงบีบอัด ทำให้เกิดการคดโค้งของชั้นหินจากเดิมซึ่งวางตัวเป็นระนาบ การคดโค้งจากภาพเรียกว่า Recumbent Chevron Folds โดยมีระนาบแกนชั้นหินคดโค้งวางตัวเกือบขนานกับพื้น

ซากดึกดำบรรพ์
เมื่อนำหินจากภาพมา สกัดด้วยกรดกัดแก้ว และศึกษาภายใต้กล้องจุลทัศน์ จะพบซากบรรพชีวินขนาดเล็กที่เรียกว่า เรดิโอลาเรีย (Radiolaria) สายพันธ์ต่างๆกระจายตัวอยู่ ซึ่งสามารถนำมาศึกษาโครงสร้าง และเทียบเคียง บ่งบอกอายุทางธรณีวิทยาได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=22&chap=8&page=t22-8-infodetail03.html
http://www.radiolaria.org/what_are_radiolarians.htm
http://www.em-consulte.com/en/article/162717

ภาพประกอบจาก ประเทศกรีซ โดย GeoThai.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น