วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร

ประโยชน์จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรในสาขาต่างๆ โดย นายแก้ว นวลฉวี และนางสิรินทร์ ช่วงโชติ          ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรได้เอื้ออำนวยประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน่วยงานราชการต่างๆ ในการนำเอาข้อมูลไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ  ซึ่งพอยกตัวอย่างได้ เช่น  กรมวิชาการเกษตร  กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  กรมชลประทาน  กรมแผนที่ทหาร  สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นอาทิ  รวมไปถึงมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยได้มีการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรในสาขาต่างๆ ดังนี้
          ด้านป่าไม้          กรมป่าไม้ได้นำข้อมูลจากดาวเทียม ไปใช้ศึกษาพื้นที่ป่าไม้ทั้งประเทศ  และติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้   โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร  การสำรวจหาพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วทั้งประเทศ   การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมศึกษาหาบริเวณพื้นที่ที่สมควรจะทำการปลูกสร้างสวนป่าทดแทนบริเวณป่าที่ถูกบุกรุกแผ้วถางทั่วประเทศ   การศึกษาหาสภาพการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ทุกระยะ  ๓ ปี  นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมกันในระหว่างหน่วยงานต่างๆ  เช่น การร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  และองค์การต่างประเทศ  ทำการศึกษาและวิจัยงานด้านป่าไม้โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสมอาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าช่วยหรือทำการวิเคราะห์ด้วยสายตา หรือทั้งสองวิธีรวมกัน
          ด้านการใช้ที่ดิน          ด้วยเหตุที่การใช้ที่ดินในประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดลักษณะการใช้ที่ดินว่าจะเป็นไปในลักษณะใด  เช่น  การทำเกษตรกรรม  การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน  หรือการสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น  ดังนั้นข้อมูลจากดาวเทียมจึงถูกนำมาใช้โดยกรมพัฒนาที่ดิน  เพื่อใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน  ตลอดจนการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินแต่ละประเภท   การนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ดำเนินกรรมวิธีการวิเคราะห์ทั้งสองแบบ  คือการแปลด้วยสายตา  และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย   ทำให้ได้ผลที่ดีและเป็นที่เชื่อถือได้  โครงการทางด้านการใช้ที่ดินที่ได้ทำไปแล้วมีหลายโครงการ   ทำการศึกษาโดยหน่วยงานราชการและมหาวิทยาลัยต่างๆ  โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม  การประเมินการชะล้างพังทลายของดินบริเวณบางส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำจังหวัดเชียงใหม่  โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมSPOT และ LANDSAT เป็นต้น
          ด้านการเกษตร          การใช้ข้อมูลดาวเทียมด้านการเกษตรส่วนใหญ่ใช้ศึกษาพื้นที่เพาะปลูก  ความชื้นในดินการเปลี่ยนแปลงบริเวณเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจการประเมินความเสียหายจากศัตรูพืช   เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์และมีความต่อเนื่องประกอบด้วย  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่  คือ ดาวเทียม  LANDSAT ระบบ TM  ดาวเทียม SPOT และ MOS-๑ ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดสูง  จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมยิ่งขึ้น  และเนื่องจากมีการถ่ายภาพซ้ำที่เดิมทุกๆ  ๑๘  วันของดาวเทียม LANDSAT  และทุกๆ  ๑๖ วันของดาวเทียม SPOT ทำให้สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของภาพบริเวณเดียวกัน ซึ่งถ่ายภาพต่างวันและต่างฤดูกันได้
          กรมวิชาการเกษตร  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ได้นำข้อมูลจากดาวเทียมไปใช้ในโครงการต่างๆ เช่น การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมLANDSAT ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่นาข้าวภาคกลาง   ศึกษาหาผลิตผลของข้าวการสำรวจพื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศไทยการศึกษาความเป็นไปได้ของการประมาณพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณภาคใต้และการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพของการเกษตรโดยการแปลภาพจากดาวเทียม SPOT ด้วยสายตา

ที่มา http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%BB%C3%D0%E2%C2%AA%B9%EC%A8%D2%A1%B4%D2%
C7%E0%B7%D5%C2%C1%CA%D3%C3%C7%A8%B7%C3%D1%BE%C2%D2%A1%C3%E3%B9%CA%D2%A2%D2%B5%E8%
D2%A7%E6&select=1 

2 ความคิดเห็น:

  1. ติดต่อ pg slot สอบรายละเอียดข้อมูล ติดต่อเราได้ 24 ชม. พบกับขั้นตอนความสนุกที่คุณสามารถเลือกได้ ง่ายๆ pg สมัครเลย​เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น สะดวกสะบายมากๆเลยใช่มั้ยหละ

    ตอบลบ
  2. รีวิวเกมสล็อต Witch's Brew อัพเดทใหม่ประจำเดือน มีนาคม 2565 ส่งตรงจากทางค่ายเกมสล็อตออนไลน์ สล็อตโจ๊กเกอร์ ที่มาพร้อมกับ ฟังก์ชั่นสุดพิเศษอย่าง ทดลองเล่น joker ที่นี้ที่เดียวเพียงเท่านั่น จบคบทุกฟังชั่นสุดพิเศษ.

    ตอบลบ