วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการสร้างความตระหนักด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ



โครงการสร้างความตระหนักด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย ทัดเทียมนานาประเทศ ปัจจุบันมีการนำข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ การวางแผนและการประยุกต์ในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรวมถึงภัยพิบัติ
ในฐานะที่ สทอภ. เป็นหน่วยงานกลาง ที่มีภารกิจหลักคือ พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ให้เป็นความรู้ที่ไร้พรมแดน เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม บริการให้คำปรึกษาและพัฒนาบุคลากร  รวมทั้งศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาการในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สทอภ. มีดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS    ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย และขณะนี้ดาวเทียม THEOS ได้เข้าสู่    วงโคจรเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 และประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในการนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตพัฒนาประเทศและสร้างเสริมความรู้ความคิดของประชาชนทางด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเร่งผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ให้มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ  ตลอดจนพัฒนาเส้นทางอาชีพเพื่อรักษาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ในท้องถิ่นของตน  รวมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ขั้นสูงจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทย ตลอดจนเร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทรัพยากรธรณี และทรัพยากรอื่นๆในท้องถิ่น โดยการใช้ระบบภูมิสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
2. เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศและเป็นแหล่งสาธิตการประยุกต์ใช้และส่งเสริมการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในระดับชุมชน
3. เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการดำเนินการพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในประเทศไทย
พื้นที่ดำเนินการ
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. คนในชุมชนสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศกับทรัพยากรในท้องถิ่น เกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2. ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระดับชุมชน
3. การมีส่วนร่วมของเยาวชน ครู อาจารย์ และคนในชุมชน ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
4. การมีเครือข่ายการเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างชุมชนและกลุ่มเครือข่ายอื่น ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น