วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

แผนที่ธรณีวิทยาแปรสัณฐานทะเลจีนตะวันออก


 แผนที่ธรณีวิทยาแปรสัณฐานทะเลจีนตะวันออก แสดงตำแหน่งหมู่เกาะเซนกากุ และแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทะเลฟิลิปปินส์และแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย

หมู่เกาะเซนกากุ หรือเตียวหยู ประกอบด้วยหินบะซอลต์อายุไม่ถึง 3 ล้านปี ตั้งอยู่บริเวณขอบของร่องโอกินาว่า (Okenawa trough) ซึ่งจัดเป็นแอ่งที่เกิดหลังแนวการมุดตัวของเปลือกโลก (Back-arc basin)

ตำแหน่งของร่องโอกินาว่าถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการแบ่งเขตประเทศระหว่างจีนและญี่ปุ่น ที่เสนอโดยประเทศจีน แต่ประเทศญี่ปุ่นไม่ยอมรับการแบ่งประเทศ
ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของร่องโอกินาว่านี้

การมุดตัวของเปลือกโลกจะทำให้เกิดแนวภูเขาไฟที่เรียกว่า volcanic arc แอ่งที่เกิดขึ้นหลังแนวภูเขาไฟจึงเรียกว่า back-arc basin โดยปกติจะมีทิศทางการวางตัวขนานกัน

แอ่งหลังแนวภูเขาไฟเกิดขึ้นได้เนื่องจากการยืดออกของเปลือกโลกพร้อมกันการยกตัวของพื้นดินระหว่างการมุดตัวและชนกันของเปลือกโลก อาจจะมีการหมุนวนของหินหนืดในทิศทางแยกออกจากกันตรงตำแหน่งของร่องโอกินาว่าได้ ทำให้มีหินบะซอลต์หรือแผ่นเปลือกโลกใหม่เกิดขึ้นในอนาคต

ฟรีโปสเตอร์แผ่นเปลือกโลก http://flic.kr/p/bZDSZE
ฟรีโปสเตอร์การชนกันของเปลือกโลก http://flic.kr/p/bZDT53
ฟรีโปสเตอร์วงแหวนแห่งไฟ http://flic.kr/p/bZDTdd

ดาวน์โหลด แผนที่ธรณีวิทยาแปรสัณฐานทะเลจีนตะวันออก http://flic.kr/p/dbRuGo

จัดทำโดย GeoThai.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น