วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายดาวเทียมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฮอร์ตัน

ภาพถ่ายดาวเทียมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฮอร์ตัน (Horton River Delta) ในแคนาดา แม่น้ำฮอร์ตันไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทางเหนือ (ล่างขึ้นบน) ตรงส่วนนี้พื้นที่มีความลาดชั้นน้อย ทำให้แม่น้ำเกิดการโค้งตวัด เมื่อโค้งไปโค้งมาอยู่ดีๆ ก็โค้งไปเจอทะเลซะงั้น ทำให้น้ำและตะกอนไหลออกทะเลหมดกลายเป็นดินดอนสามเหลี่ยม (เนินทรายรูปพัดด้านขวามือ)

เมื่อแม่น้ำตัดเข้าสู่ทะเล ทำให้ส่วนที่เหลือด้านบนถูกละทิ้ง กลายเป็นหนองน้ำที่ยังคงแส
ดงร่องรอยเส้นทางของแม่น้ำอยู่ เรียกว่า ทะเลสาบรูปแอกวัว (Oxbow lake)

คำถามที่เกิดตามมาก็คือว่า การไหลตัดเข้าสู่ทะเลของแม่น้ำฮอร์ตันเกิดขึ้นเมื่อไหร่?

หลักฐานภาพวาด ช่วงปีพ.ศ.2368-2370 พบว่ามีดินดอนสามเหลี่ยมเกิดขึ้นแล้ว แสดงว่าแม่น้ำฮอร์ตันจะต้องตัดเข้าสู่ทะเลก่อนหน้านั้นแล้ว

อีกวิธีคือหาอายุซากต้นใต้ในส่วนที่แม่น้ำถูกละทิ้ง โดยมีสมมติฐานว่าก่อนที่แม่น้ำจะตัดออกสู่ทะเล แม่น้ำได้พัดพาเอาเศษซากต้นไม้จากต้นทางไปตกสะสมตามเส้นทางที่แม่น้ำไหลไป ดังนั้นอายุของต้นไม้ที่อ่อนที่สุดที่พบน่าจะบ่งบอกช่วงเวลาสุดท้ายที่แม่น้ำไหลผ่านได้ ซึ่งข้อมูลจากวงปีของต้นไม้ที่อายุน้อยที่สุดบ่งบอกได้ว่า ก่อนปีพ.ศ.2183 แม่น้ำฮอร์ตันยังคงไหลปกติ

สุดท้ายคือการศึกษาอัตราการสะสมตัวของชั้นตะกอนในดินดินสามเหลี่ยม โดยสมมติว่ามีอัตราการสะสมตัวของตะกอนคงที่ สรุปได้ว่า การก่อตัวเป็นดินดอนสามเหลี่ยมครั้งแรกน่าจะเกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ.2293

จากข้อมุลแผนที่พบว่าดินดอนสามเหลี่ยมมีการขยายใหญ่ขึ้นในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา แต่ภายหลังในปัจจุบันน้ำทะเลลุกล้ำเข้ามามากขึ้น นั่นหมายความว่าอัตราการตะสะสมตัวของตะกอนน้อยกว่าอัตราการกัดเซาะของน้ำทะเล

มาตราส่วน ดินดอนสามเหลี่ยมกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร

ตำแหน่งภาพ http://goo.gl/maps/8LzHg
ฟรี โปสเตอร์การเกิดแม่น้ำโค้งตวัด http://flic.kr/p/c4HHCo
ข้อมูล http://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=79044
Photo credit : NASA









ที่มา 
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151215859754274&set=a.185043244273.153660.113625949273&type=1&theater

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น