วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองเชียงใหม่


ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองเชียงใหม่ ล่าสุด เมืองที่ผลิตนักธรณี จำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศไทย

ทีมาภาพ
คุณ Seashell athttp://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=101602&page=1534
รูปภาพ : ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองเชียงใหม่ ล่าสุด เมืองที่ผลิตนักธรณี จำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศไทย 

ทีมาภาพ
คุณ Seashell at http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=101602&page=1534

Urban Sprawl


Urban Sprawl คือ การขยายตัวของเมืองอย่างไม่เป็นระเบียบ ซึ่งกระบวนการที่เมืองขยายตัวออกไปสู่บริเวณโดยรอบนั้น เป็นผลเนื่องมาจากการขยายตัวของประชากร หรืออาจเป็นผลมาจากกระบวนการกลายเป็นชานเมือง (Suburbanization) ในหลายๆประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
กลุ่มประเทศด้อยพัฒนา กระบวนการขยายตัวของเมืองในลักษณะนี้จะเป็นไปโดยการปราศจากการวางแผน และไม่สามารถควบคุมได้ ผลกระทบของ Urban Sprawl ทำให้สูญเสียพื้นที่สีเขียวรอบๆเมือง และส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของเมือง
Credit ภาพ: Bangkok Urban Sprawl จากhttp://www.southeastasia-images.com/

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ถ่ายภาพใต้น้ำ


กูเกิ้ลแมพ (Google Maps) จับมือกับหน่วยงานสำรวจและถ่ายภาพใต้น้ำ พาคุณดำดิ่งใต้ผืนน้ำลงทะเลใสเก็บภาพป่าปะการัง เต่าทะเล ฝูงปลาและปลากระเบนราหู ตามเกาะแก่งต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งในออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และ ฮาวาย

ความคาดหวังในอนาคต นั
กธรณีวิทยาจะได้ดำลงไปดูแนวปะการัง ภูเขาไฟใต้น้ำ เทือกเขาและร่องลึกกลางมหาสมุทร โดยที่ไม่ต้องเปียกน้ำ

ในภาพเป็นตัวอย่างจากเกาะเฮรอน (Heron Island) ใกล้กับ พืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก เกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ในออสเตรเลีย

ลิงค์ http://goo.gl/maps/sjVa2

คลิปประชาสัมพันธ์ http://youtu.be/7syWPIZt9B4

Photo credit: Google Map

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

Pentalofos

มุมเท (dip) มุมที่เกิดจากระนาบของโครงสร้างทางธรณีวิทยาตัดก้บระนาบแนวนอน ทิศทางของแนวเทจะตั้งฉากกับแนวระดับ

จากภาพ ชั้นหินทรายแป้งแทรกสลับกับหินทราย มีมุมเทไปทางด้านขวา
หน่วยหิน Pentalofos Formation, Oligo-Miocene, Mesohellenic Basin, Greece

เมื่อเข้าใจนิยามแล้ว จะเทกันมุมไหน ก็เลือกกันตามอัธยาศัย...
 — ที่ Pentalofos

รูปภาพ : มุมเท (dip) มุมที่เกิดจากระนาบของโครงสร้างทางธรณีวิทยาตัดก้บระนาบแนวนอน ทิศทางของแนวเทจะตั้งฉากกับแนวระดับ 

จากภาพ ชั้นหินทรายแป้งแทรกสลับกับหินทราย มีมุมเทไปทางด้านขวา
หน่วยหิน Pentalofos Formation, Oligo-Miocene, Mesohellenic Basin, Greece

เมื่อเข้าใจนิยามแล้ว จะเทกันมุมไหน ก็เลือกกันตามอัธยาศัย...

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

หินเชิร์ต (Cherts)


หินตะกอน วันนี้แนะนำ... หินเชิร์ต (Cherts)
หินชั้นเนื้อแน่น แข็ง เหนว ผิวด้านถึงวาวเกือบคล้ายแก้ว มีรอยแตกแบบก้นหอยหรือคล้ายเสี้ยนไม้ มักเป็นผลึกซ่อนรูปหรือจุดผลึก โดยมีควอตซ์ประสานกันอยู่ อาจมีซิลิกาอสัณฐาน(โอพอล)ปนอยู่ด้วย
บ้างครั้งมีสารม
ลทิน เช่น แคลไซต์ เหล็กออกไซด์ และซากสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วย (เช่น radiolaria) มีสีต่างๆ ถ้าสีเข้มเรียกว่า หินเหล็กไฟ (flint) สีแดงเรียกว่าแจสเพอร์ (jasper) สีแดงคล้ายดินเผาเรียกว่า หินพอร์เซลลาไนต์ (porcellanite)
(พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
ข้อมูลเพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/หินเชิร์ต

การแปรสภาพ
ชั้นหินเชิร์ตจากภาพ ถูกแรงบีบอัด ทำให้เกิดการคดโค้งของชั้นหินจากเดิมซึ่งวางตัวเป็นระนาบ การคดโค้งจากภาพเรียกว่า Recumbent Chevron Folds โดยมีระนาบแกนชั้นหินคดโค้งวางตัวเกือบขนานกับพื้น

ซากดึกดำบรรพ์
เมื่อนำหินจากภาพมา สกัดด้วยกรดกัดแก้ว และศึกษาภายใต้กล้องจุลทัศน์ จะพบซากบรรพชีวินขนาดเล็กที่เรียกว่า เรดิโอลาเรีย (Radiolaria) สายพันธ์ต่างๆกระจายตัวอยู่ ซึ่งสามารถนำมาศึกษาโครงสร้าง และเทียบเคียง บ่งบอกอายุทางธรณีวิทยาได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=22&chap=8&page=t22-8-infodetail03.html
http://www.radiolaria.org/what_are_radiolarians.htm
http://www.em-consulte.com/en/article/162717

ภาพประกอบจาก ประเทศกรีซ โดย GeoThai.net

ภาพดินถล่มใน La Conchiat


ภาพดินถล่มใน La Conchiat แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2548 สร้างความเสียหายใหักับบ้านเรือนไม่น้อยกว่า 30 หลัง และมีผู้เสียชีวิต 10 ราย ดินถล่มบริเวณนี้ไม่ใช่เกิดครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 2538 (สังเกตร่องรอยเก่าด้านซ้ายของรอยถล
่มใหม่) ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นได้มีการสร้างรั้วป้องกัน แต่ก็ไม่สามารถต้านทานแรงจากเศษหินได้ และก็คงจะไม่ใช่เหตุการณ์ดินถล่มครั้งสุดท้าย

ข้อมูลเพิ่มเติมhttp://pubs.usgs.gov/of/2005/1067/508of05-1067.html

Photograph by Allen Krivanek

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ภูเขาไฟปาคายา


กรุณาอย่าเดินออกนอกเส้นทาง ภาพนักท่องเที่ยวเดินขึ้นเขา บริเวณใกลักับภูเขาไฟปาคายา (Pacaya) ในประเทศกัวเตมาลา ถ่ายเมื่อปี 2549

ภูเขาไฟมีพลังลูกนี้มีความสูง 2,552 เมตร และเคยเกิดการปะทุมาแล้วไม่น้อยกว่า 23 ครั้งนับตั้งแต่เมื่อ 23,000 ปีก่อน ล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2553

ภูเขาไฟปาคายา เป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาไฟที่เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกโคโคสใต้แผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน

ตำแหน่ง http://goo.gl/maps/vFX0F
คลิปการปะทุล่าสุด http://youtu.be/fFoF57KX2yU

ฟรี โปสเตอร์แผ่นเปลือกโลก http://flic.kr/p/bZDSZE
ฟรี โปสเตอร์วงแหวนแห่งไฟ http://flic.kr/p/bZDTdd

Photograph via scienceblogs.com

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำตกพรหมโลก

น้ำตกพรหมโลก จ.นครศรีธรรมราช น้ำตกพรหมโลกจัดว่าเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีลานหินกว้างและสวยงามแห่งหนึ่ง มีต้นน้ำกำเนิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลลงมาบนแผ่นหิน 3 ชั้น ชั้นที่มีความสูงประมาณ 70 เมตรเป็นชั้นที่มีความสวยที่สุด ไหลผ่านดานหินแกรนิตอยู
่บริเวณใกล้ที่ทำการ อุทยานฯ ด้านล่างมีลานหินแกรนิตเป็นแอ่งน้ำกว้างประมาณ 300 ตารางเมตร สามารถเล่นน้ำได้ น้ำตกไหลผ่านหมู่ไม้นานาพรรณริมเชิงเขา สร้างความชุ่มฉ่ำแก่ภูมิประเทศในแถบนั้น

ธรณีวิทยา หินบริเวณตัวน้ำตกเป็นหินแกรนิต สีเทาขาว เนื้อสม่ำเสมอและเนื้อดอก ขนาดเม็ดปานกลางถึงหยาบ มีการเรียงตัวของแร่เฟลด์สปาร์ในเนื้อหิน มีอายุไทรแอสซิก (อายุประมาณ 245-210 ล้านปี)

สภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ อยู่ในการดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีการก่อสร้างทางเดินเท้าเลียบทางน้ำและเนินเขาไปสู่น้ำตก