วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

40 วิธีลดภาวะโลกร้อน


1. ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า รู้มั๊ยคะว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้านมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 16%
2. หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการตากผ้าแทนการ อบผ้าในเครื่องซักผ้า
3. การรีดผ้า ควรรีดครั้งละมาก ๆแทนการัดทีละตัว เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
4. ปิดแอร์บ้าง แล้วหันมาใช้พัดลมหรือว่าเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น
5. เวลาไปที่ห้างสรรพสินค้าอย่าเปิดประตูทิ้งไว้ เพราะแอร์จะทำงานหนักมากว่าปกติ
6. ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ นอกจากจะเป็นการได้ออกกำลังกายแล้วยังประหยัดได้เยอะขึ้นรู้มั้ยคะว่า
การกดลิฟต์หนึ่งครั้งจะเป็นการเสียค่าไฟถึงครั้งละ 7 บาท

7. ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น โดยเปิดเฉพาะด้วยที่เราจำเป็นต้องใช้จริง ๆ
8. ลดๆ การเล่นเกมลงบ้าง เพราะนอกจากสายตาจะเสียแล้ว ยังเปลืองไฟมาก ๆ อีกด้วย
9. ตู้เย็นสมัยคุณแม่ยังสาว ขายทิ้งไปได้แล้ว เพราะกินไฟมากกว่าตู้เย็นใหม่ถึง 2 เท่า
10. บอกคุณพ่อคุณแม่ให้เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40%
11. ยืดอายุตู้เย็นด้วยการไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น และหลักเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร
12. ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ
13. ใช้รถเมล์ รถไฟฟ้าแทนการใช้รถส่วนตัว
14. ถ้าไม่ได้ไปไหนไกล ๆ ให้ใช้จักรยาน หรือเดินไปก็ดีนะคะ ได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย
15. ใช้กระดาษแต่ละแผ่นอย่างประหยัดกระดาษรียูทหนังสือพิมพ์ เพราะกระดาษเหล่านั้นมาจากการตัดต้นไม้
16. เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว เอาไปบริจาคบ้างก็ได้ เพราะในบางบริษัทมีการรับ บริจาคเสื้อที่ใช้แล้ว จะนำไปหลอมมาทำเป็นเส้นใยใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 71%
17. ลดใช้พลาสติก โดยใช้ของที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น กระเป๋าผ้า หรือกระติกน้ำ
18. พยายามทานอาหารให้หมด เพราะเศษอาหารเหล่านั้นก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนต่อโลกเพิ่มขึ้น
19. ร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนนได้อีกทางด้วยค่ะ
20. พยายามลดเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องอย่าง วัว เพราะมูลของสัตว์เหล่านั้นจะปล่อยก๊าซมีเทน
21 กินผักผลไม้เยอะ ๆ เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรไม่ปล่อยก๊าซมีเทนที่เป็นตัวเพิ่มความร้อนให้อากาศ
22. กระดาษหนังสือพิมพ์ไม่ใช้แล้ว อย่าทิ้ง สามารถนำมาเช็ดกระจกให้ใสแจ๋วได้
23. ใช้เศษผ้าเช็ดสิ่งสกปรกแทนกระดาษชำระ
24. มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐาน
25. ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา เพราะสินค้าที่ห่อด้วยพลาสติกและโฟมนั้นจะทำให้เกิดขยะจำนวนมากมายมหาศาล
26. ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาล ต่าง ๆ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด
27. ลดปริมาณการทิ้งขยะลงบ้าง
28. ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น พวกเศษผักและเศษอาหารออกจากขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
29. บอกคุณพ่อคุณแม่ให้ขับรถความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.
30. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน

31. ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้อากาศ ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็วเป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี อาจจะลำบากไปหน่อยแต่ก็เก๋ไม่น้อยนะคะ

33. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากห่อของบรรจุภัณฑ์
34. ลดปริมาณขยะโดยใช้หลัก 3R คือ Reuse, Recycle, Reduce
35. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน
36. ทานสเต็กและแฮมเบอร์เกอร์ในร้านใหญ่ ๆ ให้น้อยลงบ้างเพราะอุตสาหกรรมเนื้อระดับนานาชาติผลิตก๊าซเรือนกระจกถึง 18 % สาเหตุหลักก็คือไนตรัสออกไซด์และมีเทนจากมูลวัว
37. มีส่วนร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเผยแพร่ และการลดปัญหาโลกร้อน
38. อยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ตามพระราชดำรัสของในหลวงนะคะ
39. ประหยัดพลังงานเท่าที่จะทำได้ทั้งน้ำ ไฟ น้ำมัน เพื่อให้ลูกหลานของเรามีสิ่งเหล่านี้ใช้กันต่อไปในอนาคต
40. อย่าลืมนำวิธีดี ๆ เหล่านี้ไปบอกต่อเพื่อน ๆ ด้วยนะคะ
********************

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชั้นบรรยากาศ

      ชั้นบรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้ชั้นบรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  ชั้นบรรยากาศมีความหนารวมแล้วประมาณ 310 ไมล์  อากาศในชั้น บรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก 



การแบ่งชั้นบรรยากาศ สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้

     1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง

     2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์

     3.แบ่งชั้fนบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์

     4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา


1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ

     1. ชั้นบรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบน

          1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ 
เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ 

          2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลต
จากดวงอาทิตย์  ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช  ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลก   ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัว และจัดรูปแบบขึ้นใหม่เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วง ของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี

         3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง  83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วน
หินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน

    
 2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติ ตรงข้ามกับบรรยากาศส่วนล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อน มาก บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ

          1. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส 
สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอกซ์ทำให้แตกตัว

          2. เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดัน
ภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้

          3. แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆ อยู่เลย 


2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้นดังนี้ 

     1. โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) อยู่ระหว่าง 0-10 กม. โดยอุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามความสูง โดยเฉลี่ยกม.ละ 6.5องศา c เป็นชั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นบริเวณที่มีไอนำ เมฆ หมอก และพายุ

     2. สตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) อยู่ระหว่างความสูง 10-50 กม. เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ มักใช้ในการเดินทางทางอากาศ โดยอุณหภูมิจะคงที่ จนถึงความสูง 50 กม. และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน
อัตรา0.5 องศา c ต่อ1กม.

     3. เมโซสเฟียร์ (Mesosphere)  เป็นชั้นบรรยากาศระหว่าง 50-80 กม. โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง

     4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความ
หนาแน่นของอนุภาคต่างๆจางมาก แต่ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ บรรยากาศในชั้นนี้ถือเป็นบริเวณที่เปลี่ยนจากบรรยากาศของโลกมาเป็นก๊าซระหว่างดาวที่เบาบาง และเป็นชั้นนอกสุดของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เรียกว่า เอกโซสเฟียร์

     นอกจากนี้ ยังเรียก ชั้นโฮโมสเฟียร์ คือ ชื่อเรียกบรรยากาศชั้น โทรโพรสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์รวมกัน 


3. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น คือ

     1. โทรโพสเฟียร์  เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดกับพื้นโลก สูง 0-10 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอน้ำ

     2. โอโซโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง10-50 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ โอโซน

     3. ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 80-600 กม. มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน

     4. เอกโซเฟียร์  เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งสูงตั้งแต่ 600 กม. ขึ้นไป โดยความหนาแน่นของอะตอมต่างๆ มีค่าน้อยลง


4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา แบ่งได้ 5 ชั้น ดังนี้

     1. บริเวณที่มีอิทธิพลความฝืด ระหว่าง 0-2 กม. 

     2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและบน อุณหภูมิจะลดลงสม่ำเสมอ ตามความสูง

     3. โทรโพพอส เป็นเขตแบ่งว่า มีไอน้ำกับไม่มีไอน้ำ

     4. สตราโตสเฟียร์  มีโอโซนมาก

     5. บรรยากาศชั้นสูง คล้ายกับเอกโซสเฟียร์

อู่ตะเภา


วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บ้านผมน้ำจะท่วมเยอะหรือน้อย 2555


    ดูสถานการณ์แล้ว ฝนตก น้ำในแม่น้ำ ล่าสุดนักวิชาการฟันธงว่าท่วมแน่แต่ไม่รู้ว่ามากหรือน้อย
บ้านผมเอง ต.เกาะเทโพ อ.เมือง จ. อุทัยธานี 2554

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Data Model

แบบจำลองฐานข้อมูล (Data Model)

แบบจำลองฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Model) เป็นฐานข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ โครงสร้างต้นไม้ (tree structure) เป็นโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้เป็นลำดับชั้น ซึ่งแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา หรือที่เรียกว่า เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type)
คุณสมบัติของฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น
1. Record ที่อยู่ด้านบนของโครงสร้างหรือพ่อ(Parent Record) นั้นสามารถมีลูกได้มากกว่าหนึ่งคน แต่ลูก (Child Record) จะไม่สามารถมีพ่อได้มากกว่า 1 คนได้
2. ทุก Record สามารถมีคุณสมบัติเป็น Parent Record(พ่อ) ได้
3. ถ้า Record หนึ่งมีลูกมากกว่าหนึ่ง Record แล้ว การลำดับความสัมพันธ์
ของ Child Record จะลำดับจากซ้ายไปขวา
ลักษณะเด่น
• เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีระบบโครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด
• มีค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างฐานข้อมูลน้อย
• ลักษณะโครงสร้างเข้าใจง่าย
• เหมาะสำหรับงานที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขเป็นระดับและออกงานแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
• ป้องกันระบบความลับของข้อมูลได้ดี เนื่องจากต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน
ข้อเสีย
• Record ลูก ไม่สามารถมี record พ่อหลายคนได้ เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 วิชา
• มีความยืดหยุ่นน้อย เพราะการปรับโครงสร้างของ Tree ค่อนข้างยุ่งยาก
• มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบโครงสร้างอื่น
• หากข้อมูลมีจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงที่ต้นกำเนิดของข้อมูล

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Model) - ลักษณะฐานข้อมูลนี้จะคล้ายกับลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่ในลักษณะฐานข้อมูลแบบเครือข่ายนี้สามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า 1 และยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว
- ลักษณะโครงสร้างระบบฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะมีโครงสร้างของข้อมูลแต่ละแฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์คล้ายร่างแห
ข้อดี
• ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด
• สามารถเชื่อมโยงข้อมูลแบบไป-กลับ ได้
• สะดวกในการค้นหามากกว่าลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เพราะไม่ต้องไปเริ่มค้นหาตั้งแต่ข้อมูลต้นกำเนิดโดยทางเดียว และการค้นหาข้อมูลมีเงื่อนไขได้มากและกว้างกว่าโครงสร้างแบบลำดับชั้น

3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Model) เป็นการจัดข้อมูลในรูปแบบของตาราง 2 มิติ คือมี แถว (Row) และ คอลัมน์ (Column) โดยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะใช้ Attribute ที่มีอยู่ทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล
ข้อดี
• เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล
• ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้ดี
• การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้
ข้อเสีย
• มีการแก้ไขปรับปรุงแฟ้มข้อมูลได้ยากเพราะผู้ใช้จะไม่ทราบการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร
• มีค่าใช้จ่ายของระบบสูงมากเพราะเมื่อมีการประมวลผลคือ การอ่าน เพิ่มเติม ปรับปรุงหรือยกเลิกระบบจะต้องทำการสร้างตารางขึ้นมาใหม่ ทั้งที่ในแฟ้มข้อมูลที่แท้จริงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

4. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object Oriented Model)

• ใช้ในการประมวลผลข้อมูลทางด้านมัลติมีเดีย คือ มีข้อมูลภาพ และเสียง หรือข้อมูลแบบมีการเชื่อมโยงแบบเว็บเพจ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับ Relation Model
• มองสิ่งต่างๆ เป็น วัตถุ (Object)

วัตถุประสงค์ของแบบจำลองข้อมูล
• เพื่อนำแนวคิดต่างๆ มาเสนอให้เกิดเป็นแบบจำลอง
• เพื่อนำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่นเดียวกันการดูแปลนบ้านที่จะทำให้เราเข้าใจโครงสร้างบ้านได้เร็ว
• เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบฐานข้อมูลกับผู้ใช้ให้ตรงกัน


ประเภทของแบบจำลองข้อมูล


• ประเภทของแบบจำลองข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Conceptual Models คือ แบบจำลองแนวคิดที่ใช้พรรณนาลักษณะโดยรวมของข้อมูลทั้งหมดในระบบ โดยนำเสนอในลักษณะของแผนภาพ ซึ่งประกอบด้วยเอนทีตีต่างๆ และความสัมพันธ์ โดยแบบจำลองเชิงแนวคิดนี้ต้องการนำเสนอให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้งาน คือเมื่อเห็นภาพแบบจำลองดังกล่าวก็จะทำให้เข้าถึงข้อมูลชนิดต่างๆ
2. Implementation Models เป็นแบบจำลองที่อธิบายถึงโครงสร้างของฐานข้อมูล
คุณสมบัติของแบบจำลองข้อมูลที่ดี
• 1. ง่ายต่อความเข้าใจ
• 2. มีสาระสำคัญและไม่ซ้ำซ้อน หมายถึง แอตทริบิวต์ในแต่ละเอนทีตี้ไม่ควรมีข้อมูลซ้ำซ้อน
• 3. มีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการปรับปรุงในอนาคต กล่าวคือแบบจำลองข้อมูลที่ดีไม่ควรขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชันโปรแกรม และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ นั่นคือความเป็นอิสระในข้อมูล

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

UTM Zone ในประเทศไทย


  UTM Zone ในประเทศไทย



ระบบ UNIVERSAL TRANSVERSE MERCATORS : UTM 

หรือระบบพิกัดฉาก ขอบเขตครอบคลุมพื้นที่
ทั้ง หมดบนโลก ระหว่าง Latitude  84 องศาเหนือ และ Latitude  84 องศาใต้ มีหน่วยในการวัดเป็นเมตรพื้นที่โซนจะแบ่งตามระยะองศา Latitude เรียกว่า Zone

การแบ่ง Zone ในระบบ UTM

พื้นที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็น 60 โซน ตามองศา Longitude ในแต่ละโซนจะมีระยะห่างโซนละ 
6 องศาLatitude จะเท่ากับ 600,000 เมตร หรือ 600 กิโลเมตร  โซน ที่ 1 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 180 องศาตะวันตก ถึง Longitude ที่ 174 องศาตะวันตก และมีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) คือเส้น Longitude ที่ 177 องศาตะวันตก  ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร ซึ่งค่า False easting นี้จะเท่ากันทุกโซน  โซนที่ 2,3,4,5....,60 จะอยู่ถัดไปทางตะวันออก ห่างกันโซนละ 6 องศา Longitude ซึ่งโซนสุดท้ายคือโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 174 องศาตะวันออก ถึง Longitude ที่ 180 องศาตะวันออก

UTM Zone ในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในระหว่าง 2 โซน ได้แก่ Zone 47 และ Zone 48 
- Zone 47 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 96 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 99 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทาง
ทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร 

- Zone 48 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 108 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 105 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร 

UTM ThailandUTM Zone 47-48
พื้นที่ Zone 47 และ Zone 48

zone 47-48

จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48


จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
1.จันทบุรี
2.ปราจีนบุรี
3.สระแก้ว
4.นครราชสีมา
5.ชัยภูมิ
6.ขอนแก่น
7.เลย
8.หนองบัวลำภู (บางส่วน)
9.นราธิวาส (บางส่วน)

ละติจูด ลองจิจูด


ละติจูด ลองจิจูด

world01thaiคัดลอกจาก : อิสริยา เลาหตีรานนท์ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อังคารที่ 20 เมษายน 2553
“เส้นรุ้ง” กับ “เส้นแวง” เป็นคำที่หลายๆ ท่านเคยเรียนในสมัยอยู่โรงเรียน ท่องคำว่า “รุ้งตะแคง แวงตั้ง” และความหมายที่ตรงกันคือ เส้นรุ้งคือละติจูด และเส้นแวงคือลองจิจูด 
  
ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์และให้รายละเอียดของละติจูด ลองจิจูด ไว้ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไว้ดังนี้
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านGlobe4Kids12532ตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช
เส้นเมริเดียน และเมริเดียนกรีนิช มีความหมายว่า
เส้นเมริเดียน (meridian) คือ ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือ และขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลก ซึ่งเรียกว่าเหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น
เมริเดียนกรนิช (Greenwich meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ผ่านหอดูดาว ณ ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน อังกฤษ ใช้เป็นศูนย์ในการกำหนดค่าต่อไปนี้ 1) พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นจุดตั้งต้นของค่าลองจิจูด ซึ่งใช้ประกอบกับค่าละติจูดในการกำหนดตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยเมริเดียนกรีนิชนี้จะมีค่าลองจิจูด 0 (ศูนย์) องศา  2) เวลามาตรฐานสากล เวลาของท้องถิ่นที่อยู่ห่างจากเมริเดียนกรีนิชไปทางตะวันออก 1 องศา จะเร็วกว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที แต่ถ้าอยู่ห่างไปทางตะวันตก 1 องศา จะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที
สำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อข้องใจในการใช้ภาษาไทย ติดต่อได้ที่ ราชบัณฑิตยสถาน โทร 02-356-0466-70 หรือทางอินเตอร์เน็ตที่ http://www.royin.go.th

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พลังงานแสงอาทิตย์


พลังงานแสงอาทิตย์ ทางเลือกของพลังงานไทย



เรื่อง / ภาพ : กรวิกา วีระพันธ์เทพา
การผลิตไฟฟ้าในประเทศที่ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 72 กับปริมาณการใช้ไฟที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้คำถามว่า “ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องสนใจพลังงานหมุนเวียนหรือยัง?” มาถึงเร็วขึ้น
กลางพื้นที่ที่แสงแดดจัดใน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร แผงโซลาร์เซลล์จำนวน 29,160 แผง เรียงรายอยู่กลางพื้นที่ 133 ไร่ มีกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ สามารถจ่ายไฟฟ้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554
โซลาร์ฟาร์มแห่งนี้ เป็นหนึ่งในแผนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ บริษัทโซล่า เพาเวอร์ จำกัด ตั้งเป้าไว้ว่าจะลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 34 โครงการ ภายในปี 2556 ซึ่งขณะนี้แล้วเสร็จไป 6 โครงการที่นครราชสีมา เลย และนครพนม
วันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล่า พาวเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การก่อสร้างแต่ละโครงการ ต้องใช้งบประมาณ 600-700 ล้านบาท รวมทั้งหมด 24,000 ล้านบาท และคาดว่าจะคืนทุนภายใน 7-8 ปี ก่อนที่บริษัทจะลงทุน ได้ประเมินแล้วว่าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเติบโตทางธุรกิจ เนื่องจากพื้นที่ภาคอีสานบ้านเรามีความเข้มของแสงที่ดี มีประสิทธิภาพต่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และเป็นที่ราบสูง ความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยต่ำ
"ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มจะเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตในอนาคต เพราะเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมด และเป็นพลังงานสะอาด เกิดมลพิษน้อยมาก อาศัยการลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถผลิตพลังงานต่อไปได้อีกหลายสิบปี การที่มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน บริษัท ไทยฟ้า เพาเวอร์ จำกัด และบริษัทการเงินระหว่างประเทศ ไอ เอฟ ซี เข้ามาร่วมถือหุ้นกับเรา เป็นตัวบ่งบอกอย่างหนึ่งว่าเราได้รับความไว้วางใจว่าจะสามารถทำให้ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเติบโตได้”
วันดี ระบุว่า ปัจจุบันมีธุรกิจหลายแห่งที่แจ้งความจำนงขอทำธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว จึงอยากให้รัฐบาลให้ความสนใจพลังงานชนิดนี้โดยการให้ออกมาตรการที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ เช่น รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากขึ้น สนับสนุนเงินลงทุน ให้การสนับสนุนความรู้และเครือข่ายด้านพลังงานหมุนเวียน เพื่อความมั่นคงของพลังงานในประเทศ
"เมื่อเราสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ย่อมหมายถึงความมั่นคงของเราเอง เราวางตำแหน่งของบริษัทไว้ที่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรายแรกในประเทศ และมีแผนขยายผลไปยังประเทศในแถบอาเซียน ในฐานะผู้ออกแบบก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีและงบประมาณอย่างเหมาะสมด้วย"
อย่างไรก็ตาม พลังงานแสงอาทิตย์ยังมีข้อจำกัดที่ต้องใช้ที่ดินมากเพื่อรับแสงอาทิตย์ให้มากที่สุด ดังนั้น ยังมีความกังวลจากผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ห่วงเรื่องการใช้และจัดการที่ดินอย่างเหมาะสมกับชุมชนท้องถิ่นนั้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องคำนึงถึงด้วย เพื่อให้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเป็นมิตรอย่างแท้จริง
+++ ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์ฟาร์ม +++

แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ส่งไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (ที่ใช้ในที่พักอาศัย) จากนั้นส่งไปยังตู้จ่ายกระแสไฟฟ้าหลัก หม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่มแรงดันไฟฟ้าเป็น 22,000 โวลต์ แล้วส่งเข้าสู่ระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

โครงการเขื่อนแม่วงก์



ภาพจาก thailandoffroad.com
เรื่อง เสมอชน ธนพัธ
ส่อเค้าตั้งแต่หลังน้ำท่วมใหญ่ปีที่ผ่านมาแล้วว่า รัฐบาลจะนำโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่มาปัดฝุ่นพร้อมกับออกแรงผลักอย่างสุดกำลัง ด้วยเหตุผลว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วม หนึ่งในนั้นคือเขื่อนแม่วงก์ กระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็มีมติอนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์จำนวน 13,000 ล้านบาท โดยใช้เวลาการก่อสร้าง 8 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 –2562
ท่ามกลางความหวาดกลัวปัญหาน้ำท่วมของสังคมไทย ก็มีคำถามสวนขึ้นมาว่า เขื่อนแม่วงก์ป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือ และหลายคนที่เคยติดตามเรื่องราวของเขื่อนแม่วงก์กันมาบ้าง ก็อาจสงสัยต่อว่า เดิมทีรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของเขื่อนแม่วงก์ไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมิใช่หรือ แล้วจู่ๆ ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณฝ่าไฟแดงให้ก่อสร้างได้อย่างไร
โครงการเขื่อนแม่วงก์เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกรมชลประทานมาตั้งแต่ปี 2525 มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรและการป้องกันอุทกภัยที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
จากรายงานอีไอเอที่นำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อปี 2537 กรมชลประทานได้พิจารณาเลือกก่อสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำแม่วงบริเวณเขาสบกก ตำบลแม่เลย์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขื่อนดังกล่าวมีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ ปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 291,900 ไร่ ในอำเภอลาดยาว อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่บางส่วนในอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานีงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ในขณะนั้นคือ 4,043 ล้านบาท
แม้การจัดประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเมื่อต้นปี 2543 ชาวบ้านจำนวนมากและนักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อน โดยที่ชาวบ้านบางส่วนเชื่อเช่นนั้นจริงว่าเขื่อนแม่วงก์จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2545 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก็มีมติไม่เห็นชอบรายงานอีไอเอของกรมชลประทาน เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาไม่รอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่อผืนป่าหลายหมื่นไร่
ประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่รอบด้านของการประเมินผลกระทบ อาทิ ในรายงานอีไอเอระบุผลกระทบต่อผืนป่าแค่ว่าพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป 13,000 ไร่นั้น คิดเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 2.2 ของพื้นที่อุทยานฯ แต่ไม่ได้บอกความจริงต่อไปว่า พื้นที่ที่ต้องสูญเสียนั้นเป็นสังคมป่าที่ลุ่ม ซึ่งหากเปรียบเทียบกับร่างกายของคนเรา ก็เปรียบได้ดั่งหัวใจ ไม่ใช่แขนหรือขา ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของพรรณไม้สูงมาก และเป็นแหล่งหากินของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มและใกล้แม่น้ำ ซึ่งการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จะเป็นตัวกีดขวางทางเดินของสัตว์ป่า รวมถึงทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย เนื่องจากป่าถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน
ทั้งนี้ ป่าแม่วงก์เป็นป่าที่มีทรัพยากรสมบูรณ์ และเป็นป่าต่อเนื่องผืนเดียวกับป่าตะวันตก สภาพพื้นที่ป่ามีหลายประเภท ทั้งป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 549 ชนิด ในจำนวนนี้มีสัตว์ป่าสงวน เช่น สมเสร็จ เลียงผา และสัตว์ป่าหายากหรือใกล้สูญพันธ์อีกหลายชนิด เช่น กระทิง วัวแดง หมาจิ้งจอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ เสือโคร่ง เสือดำหรือเสือดาว เป็นต้น
ส่วนประเด็นเรื่องการป้องกันน้ำท่วม ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า ฝนที่ตกเป็นการกระจายตัวอยู่ทั่วไปในพื้นที่ลุ่ม ดังนั้นการสร้างเขื่อนในบริเวณต้นน้ำจึงไม่สามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้จริง เนื่องจากการสร้างเขื่อนที่บริเวณเขาสบกกเป็นการกั้นลำน้ำแม่วงเพียงสายเดียว แต่ลำน้ำที่ไหลผ่านลุ่มน้ำแม่วงไม่ได้มีเพียงสายเดียว ยังมีลำน้ำอีกหลายสายที่ไหลมาบรรจบกับน้ำแม่วง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของน้ำท่วมในตัวเมืองอำเภอลาดยาว โดยประเด็นนี้เองก็สอดคล้องกับในรายงานอีไอเอ ฉบับปี 2540 ที่ระบุว่า การสร้างเขื่อนบริเวณเขาสบกกสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ร้อยละ 25 เท่านั้น นั่นหมายถึงลำพังการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ก็ยังมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่นัก จึงมิพักต้องพูดถึงการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาที่อยู่ตอนล่าง
ขณะที่การบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่นั้น มีผู้เสนอทางเลือกไว้หลากหลาย เพื่อแลกกับการที่ไม่ต้องสูญเสียผืนป่าที่เป็นแหล่งซับน้ำตามธรรมชาติ เช่น การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดเล็กและแก้มลิงกระจายให้ทั่วพื้นที่ การยกระดับถนนที่กีดขวางทางน้ำบางช่วงเพื่อเปิดทางให้น้ำสามารถไหลระบายได้ หรือแม้กระทั่งการตัดเส้นทางน้ำเข้าเขื่อนทับเสลาในจังหวัดอุทัยธานี
แม้ภายหลังการตีกลับรายงานอีไอเอของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำให้ความเคลื่อนไหวในการผลักดันโครงการชะลอไปพักใหญ่ แต่เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี 2553 โครงการเขื่อนแม่วงก์ก็ถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง และมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใหม่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2555 แต่แล้วเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งในปี 2554 ครม. รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็คลอดมติให้สร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมกับอนุมัติงบประมาณ 13,000 ล้านบาท ทั้งที่รายงานอีไอเอฉบับเดิมก็ไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ส่วนรายงานฉบับใหม่ก็ยังทำไม่เสร็จ ...ฉะนั้นจะให้ตีความได้ว่าอย่างไร นอกจากอย่างไรเสียก็เดินหน้าสร้างเขื่อนแม่วงก์แน่ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องใส่ใจ??
หรือนี่เป็นเรื่องการดำเนินการลักไก่ ลวงและอำพรางข้อมูลกัน

ภูมิใจที่เรียนภูมิศาสตร์


..ลายพระหัตถ์บนแผนที่ทรงงานของในหลวง..








จะมีใครในแผ่นดินนี้

ที่ตรากตรำพระวรกาย

เดินทางไปทุกที่

พร้อมแผนที่ทรงงาน

คอยแก้ไข จัดการเรื่องแหล่งน้ำ

เพื่อประโยชน์สุข

ของเหล่าไพร่ฟ้าประชาชน

ขอพระองค์

ทรงพระเจริญ


  • ทำให้ผมรู้สึกภูมิใจที่เรียนภูมิศาสตร์

ในหลวงของคนไทย

Image



รักในหลวง...เพราะความดีของพระองค์ท่าน
ทรงเป็นต้นแบบที่ดีของการดำเนินชีวิต 
แม้ในวันที่ความรู้สึกเกลียดชังเกิดขึ้นเต็มหัวใจ
คิดถึงคำสอนของพ่อแล้ว....ทำให้เราหันกลับมามอง
คนอีกจำพวกที่เกิดในดินผืนเดียวกันว่า...เขาก็คือคนไทยเหมือนกันเรา

ปกป้องให้ความรักยังคงเกิดในทุกหมู่เหล่า หาใช่ ปลุกเร้าเพื่อความแค้น
สังคมเล็กๆที่สงบสุขไม่หวั่นไหวตามกระแส 
เป็นจุดเริ่มของความสงบที่ใหญ่ขึ้นและมั่นคง
พ่อทรงตักเตือนเราด้วยความรัก ไม่ใช่เพื่อให้เราเกลียดกัน 
เพราะทุกคนก็เป็นคนไทยเหมือนกันไม่ว่าจะดีหรือเลว

พ่อทรงดีกับลูกทุกคนของพ่อเสมอ...ไม่ว่าดีหรือเลว
หยุดคิดสักนิด....พ่อเหนื่อยมามากแล้วตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน
คนที่ออกไปก่อความวุ่นวาย....สุดท้ายแล้วมือที่ยื่นออกไปช่วยเหลือ
เป็นมือของพ่อ....หาใช่คนต่างแดนหรือกลุ่มบุคคลที่ชักจูงพวกท่านออกไป

แผนที่ของในหลวง



     ไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปไหนๆ ก็ตามคนไทยมักเห็นว่าในหลวงทรงถือแผนที่อยู่แผ่นหนึ่งไว้เสมอ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าถึงเรื่อง“แผนที่ของในหลวง” นี้ไว้ในรายการวิทยุ “พูดจาภาษาช่าง” ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ ว่า









     “แผนที่แผ่นหนึ่งของท่านค่อนข้างจะกว้างกว่าแผนที่ที่ใครๆเห็นกันทั่วไป เพราะท่านเอาหลายๆ ระวางมาแปะติดกัน
การปะแผนที่เข้าด้วยกัน ท่านทำอย่างพิถีพิถันแล้วถือว่าเป็นงานที่ใครจะมาแตะต้องช่วยเหลือไม่ได้เลยทีเดียว”
            “ก่อนที่จะเสด็จไหน ท่านจะเตรียมทำแผนที่และศึกษา
แผนที่นั้นโดยละเอียด
แผนที่นั้นโดยละเอียดท่านได้ตัดหัวแผนที่นั้นออกแล้วส่วนที่ตัดออกนั้นทิ้งไม่ได้
ท่านจะค่อยๆเอากาวมาแปะติดกัน สำนักงานของท่านคือ
ห้องกว้างไม่มีเก้าอี้ มีพื้น แล้วท่านก้มอยู่กับพื้น แล้วกาวติดกับแผนที่เข้าด้วยกัน
แล้วหัวกระดาษต่างๆ ท่านก็ค่อยๆ ตัดแล้วแปะเรียงกัน
ห้องกว้างไม่มีเก้าอี้ มีพื้น แล้วท่านก้มอยู่กับพื้น แล้วกาวติดกับแผนที่เข้าด้วยกันแล้วหัวกระดาษต่างๆ ท่านก็ค่อยๆ ตัดแล้วแปะเรียงกันแล้วหัวแผนที่ใหม่เพื่อจะได้ทราบว่าแผนที่นั้นเป็นแผ่นที่อันใหญ่ของท่านท่านทำจากแผนที่ระวางใดบ้าง”
            “แล้วเวลาเสด็จไปก็ ต้องไปถามชาวบ้านว่าสถานที่นั้นอยู่ที่ไหนทิศเหนือมีอะไร ทิศใต้มีอะไร ท่านถามหลายๆคนแล้วตรวจสอบไปมาระวางคนที่ถามนั้นดูจากแผนที่ว่าแผนที่อันนั้นถูกต้องดีหรือไม่ น้ำไหลจากไหนไปที่ไหน”






ชีวิตบน "ดาวอังคาร"



ในอดีตเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว ดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวเคยมีทะเลปกคลุม ยาน Viking ที่สหรัฐฯ เคยส่งไปสำรวจรายงานกลับมายังโลกว่า ถึงแม้บรรยากาศของดาวอังคาร จะเจือจางกว่าโลกก็ แต่ดาวอังคารก็มีก๊าซชนิดต่างๆ เหมือนโลก
มนุษย์สนใจและใฝ่ฝันที่จะได้ไปเยือนดาวอังคารมานานหลายพันปีแล้ว นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลนเมื่อเห็นดาวดวงนี้ มีสีแดงเรื่อๆ จึงตั้งชื่อว่า Nergal ซึ่งแปลว่า มรณเทพ คนจีนโบราณเรียกดาวอังคารว่า ดาวเพลิง เพราะมีสีแดง ส่วนชาวกรีกและชาวโรมันเรียกดาวนี้ว่า ดาวสงคราม
ในปี พ.ศ. 2420 G.V. Schiaparalli นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ Galileo ประดิษฐ์ขึ้นศึกษาดาวดวงนี้อย่างจริงจัง เขาได้เห็นร่องรอยการกระทบกระแทก โดยอุกกาบาตที่ผิวดาวอังคารและได้เห็นเส้นสายต่างๆ พาดผ่านผิวดาวอังคารมากมาย เขามีจินตนาการว่าเส้นมัวๆ ที่เขาเห็นคือคลองประจวบกับขณะนั้น Ferdinand de Lesseps ผู้เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ได้ประสบความสำเร็จในการขุดคลอง Suez ที่ยาว 150 กิโลเมตร โดยใช้เวลานานถึง 11 ปี ผู้คนในสมัยนั้น จึงคิดว่าคลองบนดาวอังคารที่เห็นยาว 1,500 กิโลเมตรนั้น เป็นคลองที่เทวดาขุดแน่ ๆ
ข้อสรุปเช่นนี้นำมาซึ่งความแตกตื่น และเมื่อนักประพันธ์ชื่อ H.G Wells ได้แต่งนวนิยายที่เกี่ยวกับมนุษย์บนดาวอังคารว่า ได้เดินทางมารุกรานโลก คนหลายคนจึงเชื่อว่ามีมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาศัยอยู่บนดาวอังคาร และเขาเหล่านี้ มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเหนือมนุษย์บนโลกมาก
ในปี พ.ศ. 2508 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานอวกาศ ชื่อ Mariner 4 ไปสำรวจดาวอังคารที่ระดับสูง 1,000 กิโลเมตร กล้องถ่ายภาพบนยานได้บันทึกภาพ และภาพที่ได้แสดงให้เห็นชัดว่า บนดาวอังคารไม่มีสิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดใหญ่อาศัยอยู่เลย
ในปี พ.ศ. 2518 ยานViking 2 ได้ทะยานจากโลก แล้วโคจรไปลงจอดบนดาวอังคาร ผลการวิเคราะห์ดินบนดาว แสดงให้เราเห็นอีกครั้งว่าบนดาวดวงนี้ ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย
ดาวอังคารนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ระยะห่าง โดยเฉลี่ย 235 ล้านกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นระยะทางประมาณ 1.5 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ดังนั้นอุณหภูมิของดาวโดยเฉลี่ย จะเย็นกว่าของโลกมาก ในเวลากลางวันอุณหภูมิจะสูงประมาณ 10 องศาเซลเซียส แต่ในเวลากลางคืน อุณหภูมิจะลดต่ำกว่าศูนย์ ถึง 90 องศา และจากการที่แกนของดาวเอียงทำมุม 24 องศา กับระนาบ การโคจรของมัน ดาวอังคารจึงมีฤดูกาลเหมือนโลกเรา โดยมีวันหนึ่งๆ นาน 24 ชั่วโมง 31 นาที และปีหนึ่งๆ นาน 687 วัน ภาพถ่ายที่ได้จากยานอวกาศแสดงให้เห็นว่าในอดีตเมื่อหลายพันล้านปี มาแล้ว ดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวเคยมีทะเลปกคลุม ยาน Viking ที่สหรัฐฯเคยส่งไปสำรวจดาว รายงานกลับมายังโลกว่า ถึงแม้บรรยากาศของดาวอังคารจะเจือจางกว่าของโลก ก็ตาม แต่ดาวอังคารก็มีก๊าซชนิดต่างๆ เหมือนโลก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (95%) และไนโตรเจน (3%) ดังเลขที่แสดงให้ดูนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่าดาวอังคาร มีคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปและไนโตรเจนน้อยเกินไป ดังนั้นหากสิ่งมีชีวิตใดๆ จะอุบัติได้บนดาวอังคาร ชีวิตนั้นก็ไม่ควรจะมีรูปร่าง เหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จัก
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมามานี้ D.Mckay แห่งองค์การบินและอวกาศของสหรัฐฯ (NASA) ได้ออกแถลงการณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ New York Times ว่าในอุกกาบาตก้อนหนึ่งที่ NASA สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นอุกกาบาตจากดาวอังคาร มีซากฟอสซิล (Fossil) ของจุลินทรีย์
อุกกาบาตก้อนนี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ALH 84001 เพราะนักธรณีวิทยาได้ขุดพบมันที่บริเวณภูเขาชื่อ Allan Hills ในทวีปแอนตาร์กติกา และอุกกาบาตก้อนนี้มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับมันฝรั่ง แต่หนักกว่ามากถึง 1.9 กิโลกรัม ในการวัดองค์ประกอบของอุกกาบาต นักธรณีวิทยาพบว่ามันประกอบด้วยหิน basalt และ pyroxenite โดยมีอัตราส่วนที่เท่ากับหินบนดาวอังคารที่ยาน Viking ได้เคยวัดไว้เมื่อ 22 ปี ก่อนทุกประการ ดังนั้น Mckay จึงสามารถสรุป ได้ว่าอุกกาบาต ALH 84001 มีกำเนิดจากดาวอังคาร
สำหรับการที่ ALH 84001 เกิดอุบัติเหตุตกจากดาวอังคารสู่โลกนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์พบว่า ในอดีตที่นานมาแล้วได้มีอุกกาบาตขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง พุ่งชนดาวอังคาร ทำให้หินและดินบนดาวแตกกระจุยกระจาย ก้อนหินบางก้อนได้พุ่งหนีจากสนามแรงดึงดูดของดาวอังคารไปลอยวนเวียนอยู่อากาศนาน 6 ล้านปี จึงได้ถูกโลกดึงดูดให้ตกลงสู่โลกที่ Allan Hills และถูกฝังอยู่ในน้ำแข็งที่นั่นนาน 13,000 ปีจนนักธรณีวิทยา จาก NASA ได้ขุดพบในเวลาต่อมา 
จากการใช้แสงเลเซอร์สำรวจอุกกาบาต ALH 84001 McKay และคณะอ้างว่ามีฟอสซิลของสัตว์เซลล์เดียว ที่ร่างกายประกอบด้วยโมเลกุลชื่อ Polycyclie Aromatic Hydrocarbon (PAH) ซึ่ง McKay มั่นใจว่าเป็นที่มาจากดาวอังคาร หาได้มาจากการปนเปื้อนโดยสิ่งแวดล้อม ต่ออุกกาบาต ALH 84001 ไม่ ข้อสังเกตของ McKay อีกประการหนึ่งก็คือว่า ฟอสซิลที่เห็นนี้มีขนาดเล็กกว่าจุลินทรีย์ที่เล็กที่สุด ของโลกถึง 100 เท่า ทำให้เขาไม่สามารถเห็นโครงสร้างภายใน หรือโครงสร้างผนังเซลล์ของมันได้เลย ข้อสรุปนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ สงสัยว่าจริง ๆ ไม่น่าจะมีชีวิตบนดาวอังคาร
ในการประชุมประจำปีของ Lanar and Planetary Science Conference (LPSC) ที่ Houston รัฐ Taxas ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17-21 มีนาคมศกนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายข้อมูลล่าสุดจาก ALH 84001 ว่า เม็ด carbonate ที่ McKay สังเกตเห็นแล้วลงความเห็นว่า เป็นฟอสซิลนั้นอาจจะเกิดจากกระบวนการที่ไม่เกี่ยวกับทางชีววิทยาใด ๆ นอกจากนี้จากการวัดอุณหภูมิ ของอุกกาบาตขณะเกิด "ฟอสซิล" นักวิจัยได้พบว่าอุณหภูมิที่ว่านั้นสูงถึง 700 องศาเซลเซียสซึ่งสูงเกินกว่าที่สิ่งที่มีชีวิตใด ๆ จะดำรงได้ (จุลินทรีย์บนโลกทนความร้อนได้สูงสุดแค่ 120 องศาเซลเซียส)
จะอย่างไรก็ตามที่ประชุมก็ยังคงเชื่อเหมือน Mckay ว่าในอดีตชีวิตอาจจะเคยอุบัติบนดาวอังคาร ดังนั้นความพยายามในการค้นหาชีวิต บนดาวอังคารจึงสมควรดำเนินต่อไป โดยขณะนี้ยานอวกาศ Pathfinder กำลังมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารและมีกำหนด จะลงจอดบนดาวในวันที่ 4 กรกฎาคม หากพายุบนดาวอังคารพัดรุนแรงการสำรวจ ดาวโดยรถยนต์ที่ถูกบังคับทางไกลอาจจะมีปัญหา แต่หากทัศนวิสัยดี Pathfinder ก็คงจะทำให้เรามั่นใจว่าสิ่งมีชีวิตได้เคยมี กำลังมีหรือจะมีบนดาวอังคารด้วยหาก Pathfinder ไม่มีคำตอบในปี พ.ศ. 2544 ที่จะถึงนี้ NASA กำหนดปล่อยหุ่นยนต์ออกสำรวจ ดาวอังคารอีกสองครั้งเพื่อจะรู้ให้ได้ว่า ดาวอังคารมีชีวิตหรือไม่มีวันมี 
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)    

Map


แผนที่ (Map)

มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่มีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด1 
ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการเรียนรู้
1. เห็นความสำคัญและจำแนกประเภทของแผนที่ได้ถูกต้อง
2. รู้และเข้าใจข้อมูลที่แสดงอยู่บนแผนที่ 
3. มีทักษะและนำแผนที่ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ 
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
          การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ นอกจากจะต้องรู้จักแผนที่อันเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อย่างง่ายที่เป็นพื้นฐานแล้ว นักเรียนก็ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชนิดอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงออกมาอีกหลายรูปแบบ ซึ่งแม้นักเรียนอาจจะยังไม่มี ความจำเป็นต้องใช้หรือนำไปใช้ประโยชน์ในตอนนี้ แต่ก็ควรศึกษาทำความเข้าใจไว้บ้าง เพราะจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการศึกษาสาระสังคมศึกษาหรือสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็จะทำให้นักเรียนมีทักษะเกิดความเข้าใจถึงพัฒนาการต่างๆ ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และดำรงชีวิตของนักเรียนเองในอนาคต
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนที่ 

          แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ การจัดทำแผนที่ในปัจจุบันได้มีพัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ มีการนำเอารูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวทียมมาช่วยในการทำแผนที่ ทำให้สามารถสร้างแผนที่ได้รวดเร็ว มีความถูกต้องและทันสมัยกว่าในอดีต 
           ความหมาย
แผนที่ (Map) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะและที่ตั้งของสิ่งต่างๆที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก โดยการย่อส่วนกับใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ นั้นลงในวัสดุพื้นแบนราบ
ลักษณะของสิ่งที่แสดงปรากฏบนแผนที่ ประกอบด้วย
1) ลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทะเล มหาสมุทร ทะเลสาบ แม่น้ำ ภูเขา ที่ราบ ที่ราบสูง เกาะ เป็นต้น
2) ลักษณะของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เส้นกั้นอาณาเขต เมือง หมู่บ้าน สถานที่ราชการ ศาสนสถาน เส้นทางคมนาคม พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น
          ความสำคัญของแผนที่
          เนื่องจากแผนที่เป็นที่รวมข้อมูลประเภทต่างๆ ตามประเภทหรือชนิดของแผนที่ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเห็นพื้นที่จริงหรือหากจะใช้แผนที่เพื่อการเดินทางก็จะสะดวกและถึงที่หมายได้ถูกต้อง 
1. เส้นโครงแผนที่ (map projection) 
      เส้นโครงแผนที่ เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้อ้างอิงร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย 
      1) เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0 องศา ไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านละไม่เกิน 90 องสา เส้นขนานที่สำคัญประกอบด้วย
           1. เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา 

           2. เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
           3. เส้นทรอปิกอฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิดาใต้
           4. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
           5. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้
      2) เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิซ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล 

          เส้นเมริเดียนแรก หรือ เส้นเมริเดียนปฐม ( Prime Meridian ) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบล กรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป
          เส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น
          ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน ( เส้นละติจูด ) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก





2. ชนิดของแผนที่ 

          โดยทั่วไปแบ่งแผนที่ได้เป็น 3 ชนิด ตามการใช้งาน ได้แก่
          1.) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะความสูงต่ำของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้นความสูง บอกค่าความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แผนที่ชนิดนี้ถือเป็นแผนที่มูลฐานที่จะนำไปทำข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับแผนที่

          2.) แผนที่เฉพาะเรื่อง(Thematic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะได้แก่ แผนที่รัฐกิจแสดงเขตการปกครองหรืออาณาเขต แผนที่แสดงอุณหภูมิของอากาศ แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน แผนที่ประวัติสาสตร์ เป็นต้น
          3.) แผนที่เล่ม (Atlas ) เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่างๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคม แผนที่ภูมิอากาศ ไว้ในเล่มเดียวกัน
3.องค์ประกอบของแผนที่ 

          สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 
     3.1 ชื่อแผนที่ (map name)เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น 
     3.2 ขอบระวาง (border) แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้น มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดงตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆ 
     3.3 พิกัด (coordinate) พิกัดเป็นตัวกำหนดตำแหน่งต่างๆ บนแผนที่ โดยทั่วไปนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ
           3.3.1 พิกัดภูมิศาสตร์ (geographic coordinate)
          พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอกตำแหน่งที่ตั้งของจุดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนานตัดกันเป็น “ จุด”

            1.) ละติจูด (Latitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศา ที่ขั้วโลกทั้งสอง
            2.) ลองจิจูด (Longitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียน ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จนถึง 180 องศา
          ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้องโดยใช้จีพีเอสเครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS: Global Positioning System) เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวดลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การเดินเรือ การเดินทางท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตช์ เครื่องจะรับ
          3.3.2 พิกัดกริด เป็นการกำหนดตำแหน่งที่ วัดเป็นระยะทาง ของค่าเหนือ(เส้นในแนวนอน(N= northing)) กับค่าตะวันออก (เส้นในแนวตั้ง (E= easting)) เพื่อให้ทราบว่าตำแหน่งนั้นอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรเป็นระยะทางกี่เมตร และห่างจากเส้นกึ่งกลางโซนแผนที่นั้นระยะทางกี่เมตร ในแผนที่ภูมิประเทศ 1: 50,000 จะมีระบบพิกัดกริดที่ตีเป็นตารางขนาด 2x2 เซนติเมตร(1 ช่อง 2x2 เซนติเมตร มีพื้นที่จริง 1 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งแต่ละเว้นจะมีตัวเลขกำกับบอกค่าระยะทางของค่าเหนือและค่าตะวันออก
     3.4 ทิศทาง (direction) มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้ใจว่าด้านบานของแผนที่คือทิศเหนือ
4. มาตราส่วน  (map scale) 
      มาตราส่วนหมายถึง สิ่งแสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางที่ปรากฏจริงบนผิวโลก เนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของพื้นโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่ามาตราส่วนในแผนที่นั้นใช้แทนระยะทางบนพื้นผิวโลกมากน้อยเพียงใด มาตราส่วนที่นิยมใช้มีอยู่ 3 ขนิด ดังนี้

          1) มาตรส่วนคำพูด (verbal scale) คือมาตราส่วนที่บอกโดยตรงว่าระยะทางในแผนที่ 1 หน่วย แทนระยะทางในพื้นที่จริงเท่าไร เช่น "1 เซนติเมตร เท่ากับ 20 กิโลเมตร"
          2) มาตราส่วนเส้น (graphic scale) หรือมาตราส่วนรูปแท่ง (bar scale) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยเส้นตรงหรือรูปแท่งที่มีตัวเลขกำกับไว้เพื่อบอกความยาวบนแผนที่แทนระยะทางจริงบนพื้นโลก โดยมีหน่วยความยาวที่นิยมใช้ คือ กิโลเมตรและไมล์ ซึ่งผู้ใช้แผนที่สามารถหาระยะทางจริงได้โดยใช้ไม้บรรทัดวัดระยะต่างๆที่ต้องการทราบ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ในแผนที่นั้น
          3) มาตราส่วนแบบเศษส่วน (representative fraction) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วน เช่น  เช่น เศษ 1 ส่วน 50,000 หรือ 1: 50,000 หรือหมายความว่าระยะทาง 1 หน่วยเท่ากับระยะทาง 50,000 หน่วยบนพื้นโลก


5. ชื่อภูมิศาสตร์ (geographic name) คือตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญในแผนที่ รูปแบบชื่อภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไป มีดังนี้
          1) ทวีป ประเทศ รัฐ เกาะใหญ่ และคาบสมุทร นิยมใช้ตัวตรงภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น
                    ทวีปเอเชีย                 ASIA
                    ประเทศไทย               THAILAND
                    คาบสมุทรมลายู         MALAY PENINSULA
          2) เมืองหลวง เมืองใหญ่ นิยมใช้ตัวตรง ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น
                    กรุงเทพฯ                    Krung Thep
                    เป่ย์จิง                         Beijing
                    วอชิงตัน ดี.ซี.            Washington, D.C.
          3) มหาสมุทร อ่าวใหญ่ ทะเลใหญ่ ทะเลสาบใหญ่ ภูเขา ทุ่งหญ้า ทะเลทรายใหญ่ ที่ราบสูง นิยมใช้ตัวเอน ภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น
                    มหาสมุทรแปซิฟิก      PACIFIC OCEAN
                    ทะเลจีนใต้                 SOUTH CHINA SEA
                    ที่ราบสูงโคราช          KHORAT PLATEAU
          4) แม่น้ำ ลำธาร อ่าวขนาดเล็ก เกาะ ช่องแคบ ทะเลทรายขนาดเล็ก โอเอซิส ที่ลุ่ม นิยมใช้ตัวเอน ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น
                    แม่น้ำโขง                  Mekong River
                    อ่าวบ้านดอน            Ao Bandon
                    ช่องแคบมะละกา      Strait of Malacca
          5) เขื่อน ถนน ท่อน้ำ ท่อก๊าซ แหล่งอารยธรรมโบราณ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ นิยมใช้ตัวเอนขนาดเล็ก ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหย่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น

                    เขื่อนสิริกิติ์                   Sirkit Dam
                    ทางหลวงสายเอเชีย    Asian Highway
                    บ้านเชียง                     Ban Chiang
   6. สัญลักษณ์ (symbol) และคำอธิบาย
สัญญลักษณ์ (legend)เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
สัญญลักษณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
         1) สัญญลักษณ์ที่เป็นจุด (point symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แทนสถานที่ และกำหนดสถานที่ตั้ง เช่น วัด โรงเรียน สนามบิน ตัวเมือง ลักษณะจุดที่แสดงอาจเป็นรูปร่างทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างต่างๆก็ได้
          2) สัญญลักษณ์ที่เป็นเส้น (line symbol) เป็นสัญญลักษณืที่ใช้แทนสิ่งต่างๆที่เป็นเส้นมีระยะทาง เช่น แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ เส้นแบ่งเขตการปกครอง ลักษณะเส้นที่แสดงอาจมีรูปร่าง สีต่างๆกันก็ได้
          3) สัญญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (ared symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แสดงบริเวณพื้นที่ของสิ่งต่างๆที่ปรากฏในภูมิประเทศ เช่น พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ดินเค็ม ลักษณะพื้นที่ที่แสดงอาจให้มีรูปร่างและสีที่แตกต่างกันออกไปก็ได้
7. สี (color)
          สีที่ใช้เป้นมาตรฐานในแผนที่มี 5 สี คือ
     1) สีดำ ใช้แทนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน และใช้แทนเส้นกริดและเลขกำกับเส้นกริด
     2) สีแดง ใช้แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ
     3) สีน้ำเงิน ใช้แทนบริเวณที่เป็นน้ำ เช่น ทะเล มหาสมุทร
     4) สีน้ำตาล ใช้แทนความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง เลขกำกับชั้นความสูง
     5) สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกาตร
       สีอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้แทนรายละเอียดต่างๆ บางอย่าง ซึ่งจะอธิบายไว้ในคำอธิบายสัญญลักษณ์


8.ความสูงและทรวดทรงของภูมิประเทศ
       พื้นผิวโลกมีระดับสูงและต่ำของภูมิประเทศแตกต่างกัน การเขียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จึงต้องแสดงระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกัน

       8.1 การบอกระดับภูมิประเทศ ใช้ระดับทะเลปานกลาง (mean sea-level) ซึ่งมีตัวย่อว่า รทก.(msl)เป็นเกณฑ์กำหนดความสูง แผนที่แสดงระดับความสูงนิยมแสดงแตกต่างกัน 4 รูปแบบ ดังนี้
            1) เส้นชั้นความสูง (contour line) คือเส้นสมมติที่ลากผ่านบริเวณต่างๆ ของภูมิประเทศที่มีความสูงเท่ากัน และมีตัวเลขกำกับค่าของเส้นชั้นความสูงนั้นๆเสมอ
             2) การใช้แถบสี (layer tinting) คือการจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำโดยใช้แถบสี สีที่นิยมใช้ในแผนที่เพื่อแสดงความสูง-ต่ำ ของภูมิประเทศ มีดังนี้
พื้นดิน กำหนดสีแสดงลักษณะภูมิประเทศไว้ ดังนี้

            สีเขียว                  แสดงที่ราบ ที่ต่ำ
            สีเหลือง               แสดงเนินเขาหรือที่สูง
            สีเหลืองแก่          แสดง ภูเขาสูง
            สีน้ำตาล              แสดง ภูเขาสูงมาก
            สีขาว                   แสดง ภูเขาที่มีหิมะปกคลุม
พื้นน้ำ สีที่นิยมใช้เพื่อบอกความลึกของแหล่งน้ำในแผนที่ มีดังนี้
            สีฟ้าอ่อน             แสดง ไหล่ทวีป หรือเขตทะเลตื้น
            สีฟ้าแก่                แสดง ทะเลลึก
            สีน้ำเงิน               แสดง ทะเล หรือมหาสมุทรลึก
            สีน้ำเงินแก่          แสดง น่านน้ำที่มีความลึกมาก

           3) เส้นลายขวานสับ หรือเส้นลาดเขา(hachure) เป็นเส้นขีดสั้นๆ เรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดิน เพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้น หากเป็นพื้นที่ชัน สัญญลักษณ์ในแผนที่ภูมิประเทศจะแสดงด้วยเส้นขีดที่สั้นหนา และชิดกัน หากเป็นพื้นที่ลาดเท มักแสดงด้วยเส้นขีดยาว บาง และห่างกัน เส้นลายขวานสับแสดงให้ทราบเฉพาะความสูงของภูมิประเทศ ส่วนความสูงที่แผนที่กำหนดขึ้นเป็นตัวเลข ไม่นิยมแสดงไว้ในแผนที่ที่ใช้เครื่องหมายเส้นลายขวานสับ
4) การแรเงา (shading) เป็นการแสดงความสูงของภูมิประเทศอย่างหยาบๆ โดยเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็นภาพสามมิติหรือมีทรวดทรงขึ้น
            8.2 การอ่านเส้นชั้นความสูง
             แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้เส้นชั้นความสูงของผิวโลก ได้แก่ รูปร่าง ความลาดเท และความสูงของภูเขาหรือเนินเขา เส้นชั้นความสูงจะแสดงไว้เป็นช่วงๆ อย่างเป็นลำดับ โดยใช้หน่วยเดียวกัน เช่น หน่วยความยาวเป็นเมตร จึงอาจสมมติให้ช่วงของเส้นชั้นความสูงห่างกัน 50 เมตร ได้แก่ 0 50100 150 200 หรือหน่วยความยาวเป็นฟุต อาจกำหนดให้ชั้นความสูงให้ห่างกัน 1,000 ฟุต ได้แก่ 0 1,000  2,000  3,000
             ความสูงของภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศมีความหมายดังนี้
                 1) เส้นความสูงที่มีรูปร่างคล้ายวงกลม แสดงว่าลักษณะภูมิประเทสจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นเนินเขาหรือภูเขารูปกรวย
                 2) เมื่อไม่มีเส้นชั้นความสูงปรากฏในวงกลมหรือสี่เหลี่ยมด้านในของแผนที่ภูมิประเทศ แสดงว่าลักษณะภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นที่ราบสูง
                 3) เมื่อเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศแสดงไว้ชิดกันมากในบริเวณใด แสดงว่าลักษณะภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศของบริเวณนั้นเป็นหน้าผา
ความลาดเทของภูมิประเทศ
          ช่องว่างที่ปรากฏระหว่างเส้นชั้นความสูงในแผนที่ สามารถบอกได้ว่าภูมิประเทศนั้นมีความชัน ลาดเท หรือราบเรียบ กล่าวคือ
          ถ้าแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นอยู่ชิดกันมาก แสดงว่าภูมิประเทศจริงของพื้นที่นั้นมีความลาดชัน ถ้าแผนที่นั้นแสดงเส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นห่างกัน แสดงว่าภูมิประเทศจริงของพื้นที่นั้นมีลักษณะราบเรียบ
          ถ้าแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงห่างกันมาก แสดงว่าภูมิประเทศจริงของพื้นที่นั้นเป็นที่ต่ำมีระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งมักปรากฏในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล



9. การคำนวณหาระยะทางและพื้นที่ในแผนที่
          9.1 การใช้มาตราส่วนคำนวนหาระยะทางจริงในภูมิประเทศ
          การคำนวณหาระยะทางจริงในภูมิประเทศ มีสูตรคือ
                                                                                มาตราส่วน =  ระยะทางในแผนที่
                                                                                                  ระยะทางจริงในภูมิประเทศ

          9.2 การคำนวณหาพื้นที่ในแผนที่
          การหาขนาดของพื้นที่จากแผนที่ ใช้กับแผนที่ที่มีมาตราส่วนกำหนดมาให้ ซึ่งสามารถหาพื้นที่ได้ทั้งบริเวณที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือรูปแบบอื่นๆก็ได้
          การคำนวณหาพื้นที่รูปเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม สามารถทำได้โดยใช้สูตรการหาพื้นที่ทางคณิตศาสตร์ แล้วนำค่าที่ได้ไปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ในแผนที่
          การคำนวณหาพื้นที่ที่ไม่ใช่รูปเรขาคณิต เช่น เกาะ ทะเลสาบ ทะเลทราย สามารถทำได้โดยการใช้จัตุรัส และการแบ่งแผนที่เป็นส่วนๆ ดังนี้
          1. การใช้จัตุรัส สร้างรูปจัตุรัสขนาดเล็กลงในรูปที่ต้องการหาขนาดของพื้นที่ ทั้งนี้จัตุรัสที่สร้างขึ้นจะมีขนาดเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่ขนาดของมาตราส่วนของแผนที่ และขนาดของพื้นที่ที่ต้องการทราบ การใช้จัตุรัสคำนวณหาพื้นที่ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

          1) การใช้กระดาษกราฟ โดยใช้กระดาษกราฟชนิดใสวางทาบลงบนแผนที่ในบริเวณที่ต้องการหา หรืออาจลอกแผนที่เฉพาะส่วนที่ต้องการหาพื้นที่ลงบนกระดาษกราฟก็ได้ เมื่อทาบกระดาษกราฟลงบนแผนที่แล้ว ให้นับจัตุรัสที่อยู่ในแผนที่ โดยนับจัตุรัสที่มีขนาด 1 เซนติเมตรก่อน แล้วจึงนับจัตุรัสรูปเล็กลงไปตามลำดับ ต่อจากนั้นให้นำจัตุรัสที่นับได้ทั้งหมดมารวมกัน แล้วเปรียบเทียบกับมาตราส่วนในแผนที่ เพื่อคำนวณหาพื้นที่จริงต่อไป ดังตัวอย่าง


     สมมติว่าแผนที่มีมาตราส่วน           1 เซนติเมตร : 1 กิโลเมตร

          ดังนั้น 1 ตารางเซนติเมตร     =    1 ตารางกิโลเมตร
          นับจัตุรัสขนาด                       1 ตารางเซนติเมตร ได้   27 รูป   =    27  ตารางเซนติเมตร
          นับจัตุรัสขนาด เศษ 1 ส่วน   4 ตารางเซนติเมตร ได้   12 รูป   =      3  ตารางเซนติเมตร
          นับจัตุรัสขนาด เศษ 1 ส่วน 100 ตารางเซนติเมตรได้ 100 รูป   =      1  ตารางเซนติเมตร
          พื้นที่จัตุรัสทั้งหมดคือ  27 + 3 + 1 = 31 ตารางเซนติเมตร
          พื้นที่จริง                                        = 31 ตารางกิโลเมตร 

2) การสร้างจัตุรัสขึ้นเอง โดยสร้างจัตุรัสบนแผ่นกระดาษลอกลายหรือพลาสติก แล้วนำมาทาบบนแผนที่
ที่ต้องการหาพื้นที่ที่ต้องการหา และนำมารวมกัน โดยนับจัตุรัสที่เต็มรูปก่อน แล้วจึงนับจัตุรัสที่ไม่เต็มรูปโดยประมาณด้วยสายตาเป็นเศษส่วน เช่น เศษ 2 ส่วน 3 หรือ เศษ 1 ส่วน 2 หรือ เศษ 1 ส่วน 4ของจัตุรัส ถ้าน้อยกว่า เศษ 1 ส่วน 4 ให้ตัดทิ้งไป หรือถ้าหากพิจารณาเห็นว่าตารางใดรวมกันได้เป็นจัตุรัสก็ให้รวมกันเป็น 1 จัตุรัส นำจัตุรัสทั้งหมดมารวมกัน แล้วนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้เพื่อหาพื้นที่จริงต่อไป
          2. การใช้เส้นขนาน ลากเส้นขนานลงบนแผนที่ แล้วลากเส้นปิดหัวท้ายคู้ขนานแต่ละคู่ โดยทำให้พื้นที่ที่ถูกตัดออกกับพื้นที่ที่เพิ่มเข้ามามีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด และนำพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เกิดจากการลากเส้นปิดหัวท้ายของเส้นคู่ขนานแต่ละรูปมารวมกัน จะได้พื้นที่ทั้งหมด แล้วนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ในแผนที่ เพื่อคำนวณหาพื้นที่จริงต่อไป